Spiro SE ผลข้างเคียงจากการเป่าปอด
สวัสดีครับ วันนี้หมอบีขออนุญาติแนะนำบทความจาก น้องหมอก้อง หรือ คุณหมอศรัณย์ ศรีคำ วุฒิบัตรแพทย์เฉพาะทางอาชีวเวชศาสตร์ จากโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา เกี่ยวกับอาการผิดปกติ(Side Effect, SE) ที่อาจเกิดได้จากการเป่าปอดหรือการตรวจสมรรถภาพปอดด้วยวิธีสไปโรเมตรีย์ (Spirometry) นั่นเองครับ เชื่อว่าสถานประกอบการหลายแห่ง พนักงานหลายท่านน่าจะเคยมีประสบการณ์ตรวจนี้มาก่อน บางท่านเกิดอาการข้างเคียงที่รุนแรงครั้งหนึ่งแล้วจะปฏิเสธการตรวจครั้งต่อไปเลย ถ้าเป็นอาการที่รุนแรงมากแม้จะรู้ว่าพบได้ไม่บ่อยก็ตาม ทั้งนี้ผู้ให้บริการตรวจควรมีมาตรการที่เข้มข้นพร้อมที่จะป้องกันผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นทั้งหมดนี้ครับ
การตรวจสมรรถภาพปอดด้วยวิธีสไปโรเมตรีย์ หรือที่เรียกกันติดปากว่า “การตรวจเป่าปอด” เป็นการตรวจทางอาชีวเวชศาสตร์ที่นิยมตรวจกันในหลายๆโรงงาน เพื่อคัดกรองปัญหาสุขภาพของระบบทางเดินหายใจของพนักงานที่ทางโรงงานพิจารณาแล้วเห็นว่ามีความเสี่ยง จากการสัมผัสปัจจัยเสี่ยงในที่ทำงาน การตรวจสมรรถภาพปอดด้วยวิธีนี้ นับว่าเป็นการตรวจที่ทำได้สะดวก ประหยัด และยังสามารถออกให้บริการตรวจนอกสถานที่ได้ แต่อย่างไรก็ดี เช่นเดียวกับการตรวจทางการแพทย์อื่นๆ การตรวจสไปโรเมตรีย์ส ก็สามารถก็ให้เกิดผลข้างเคียงแก่ผู้ที่เข้ารับการตรวจได้หลายประการ ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้ส่งตรวจควรต้องตระหนักไว้อยู่เสมอ
ผลข้างเคียงที่อาจพบได้บ่อยในการตรวจสไปโรเมตรีย์ คือ
การเป็นลม หรือ Syncope ซึ่งอาจเกิดจากการเพิ่มความดันในช่องทรวงอก ในขณะออกแรงเป่าลมออกจากปอดเต็มที่ ทำให้ลดการไหลเวียนของเลือดกลับสู่หัวใจ และทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอชั่วขณะ แม้อาการเป็นลมหมดสติ จะเป็นผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นเพียงระยะเวลาสั้นๆ และโดยทั่วไปไม่ได้ก่อให้เกิดผลต่อสุขภาพที่ร้ายแรง แต่ในขณะที่เป็นลมหรือหมดสตินั้น อาจเกิดอุบัติเหตุจากการล้มลง หรือพลัดตกจากเก้าอี้ ก่อให้เกิดการกระทบกระเทือนต่อศีรษะได้ ดังนั้น เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้น จึงควรจัดการตรวจในท่านั่งบนเก้าอี้ที่มีที่เท้าแขนและไม่มีล้อ
นอกจากอาการเป็นลมหมดสติแล้ว อาการเวียนศีรษะก็เป็นอีกอาการหนึ่งที่อาจพบได้เช่นเดียวกัน ซึ่งอาจทำให้เสียการทรงตัวและล้มลงเกิดอุบัติเหตุได้ และการตรวจสไปโรเมตรีย์ ยังอาจก่อให้เกิดการเพิ่มความดันในกระโหลกศีรษะ ซึ่งก่อให้เกิดอาการปวดศีรษะในผู้รับการตรวจ ได้อีกด้วย
ภาวะหลอดลมตีบ หรือ bronchospasm เป็นอีกภาวะหนึ่งที่อาจเกิดขึ้นได้ขณะทำสไปโรเมตรีย์ โดยเฉพาะในผู้ที่มีโรคประจำตัวหอบหืด หรือโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ซึ่งอาจเกิดจากการหายใจอออกอย่างแรงทำให้ไปกระตุ้นระบบประสาทพาราซิมพาเทติก ซึ่งหากเกิดหลอดลมตีบอย่างรุนแรง อาจก่อให้เกิดอันตรายได้ นอกจากนี้ การตรวจสไปโรเมตรีย์ ยังอาจก่อให้เกิดอาการไอต่อเนื่องภายหลังการตรวจได้ด้วย
ประเด็นสำคัญอีกประการหนึ่งที่ควรระวังในการตรวจสไปโรเมตรีย์ คือ การติดเชื้อ โดยเฉพาะการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจที่อาจติดต่อกันได้ทางการสัมผัสเสมหะหรือเชื้อโรคในอากาศ แต่อย่างไรก็ดีในหน่วยการตรวจที่มีมาตรฐานจะมีวิธีการในการป้องกันการติดเชื้อจากการตรวจสไปโรเมตรีย์อยู่แล้ว อีกวิธีการหนึ่งที่ช่วยป้องกันการแพร่กระจายเชื้อได้ คือ การคัดกรองผู้ที่เข้ารับการตรวจ ในผู้ที่มีเป็นหรือมีอาการของโรคติดต่อระบบทางเดินหายใจ ควรงดการตรวจสไปโรเมตรีย์ไว้ก่อนจนกว่าจะรักษาหายดี
สำหรับผลข้างเคียงอื่นๆ ที่อาจเกิดได้ในการตรวจสไปโรเมตรีย์ ได้แก่ การเกิดภาวะลมรั่วในช่องเยื่อหุ้มปอด อาการเจ็บหน้าอก ซึ่งแม้ว่าเป็นภาวะที่พบได้ไม่บ่อย แต่หากเกิดขึ้นก็อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้รับการตรวจได้เช่นกัน
ปัจจุบัน สมาคมโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย ได้กำหนดข้อห้ามในการทำสไปโรเมตรีย์ในงานอาชีวอนามัยไว้ ดังนี้
(1) ไอเป็นเลือด
(2) มีภาวะลมรั่วในช่องเยื่อหุ้มปอดที่ยังไม่ได้รับการรักษา
(3) ระบบหลอดเลือดและหัวใจไม่คงที่ เช่น ความดันโลหิตสูงที่ยังไม่ได้รับการรักษาหรือควบคุมไม่ได้ , มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (Myocardial infarction) ในระยะเวลาไม่เกิน 1 เดือนที่ผ่านมา, มีภาวะลิ่มเลือดอุดตันที่หลอดเลือดปอด Pulmonary embolism
(4) เส้นเลือดแดงโป่ง (Aneurysm) ในทรวงอก ท้องหรือสมอง
(5) เพิ่งได้รับการผ่าตัดตา เช่น ผ่าตัดลอกต้อกระจก
(6) เพิ่งได้รับการผ่าตัดช่องอกหรือช่องท้อง
(7) ทราบว่าติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจเช่นวัณโรคปอดระยะติดต่อ
(8) สตรีมีครรภ์ ยกเว้นในบางรายที่จําเป็นต้องทําการตรวจ
(9) ผู้ที่มีอาการเจ็บป่วยที่อาจมีผลต่อการทดสอบสไปโรเมตรีย์ เช่น คลื่นไส้ หรืออาเจียนมาก
ซึ่งผู้ที่มีภาวะที่เป็นข้อห้ามในการตรวจเหล่านี้ ควรงดหรือเลื่อนการตรวจออกไปก่อนจนกว่าจะหายจากโรคหรือภาวะอันเป็นข้อห้ามนั้นๆ
จะเห็นได้ว่าแม้การตรวจสมรรถภาพปอดด้วยวิธีสไปโรเมตรีย์สจะเป็นการตรวจที่สะดวก ประหยัด และค่อนข้างปลอดภัย แต่ก็ยังสามารถก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้ในหลายประการ ดังนั้น เช่นเดียวกับการตรวจทุกอย่าง
ผู้ส่งตรวจควรคัดเลือกการตรวจเฉพาะผู้ที่มีความจำเป็นต้องรับการตรวจชนิดนั้นๆ เท่านั้น โดยมีการประเมินความเสี่ยงก่อนส่งตรวจ ซึ่งนอกจากจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียงจากการตรวจแล้ว ยังเป็นการช่วยลดค่าใช้จ่ายในการตรวจอีกด้วยเพราะไม่ต้องเสียเงินตรวจในสิ่งที่ไม่จำเป็น
เรื่องผลข้างเคียงจากการตรวจสมรรถภาพปอดด้วยวิธีสไปโรเมตรีย์
เรียบเรียงโดย นพ.ศรัณย์ ศรีคำ
บทความจากน้องหมอก้องเป็นอย่างไรบ้างครับ หมอบีหวังว่าบทความนี้ จะช่วยให้พนักงานทุกคนตรวจเป่าปอดได้อย่างปลอดภัยเพื่อการเฝ้าระวังโรคปอดจากการทำงานกับสารเคมีต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพนะครับ
สำหรับวันนี้ต้องขอขอบคุณน้องหมอก้องสำหรับบทความดีดี และสวัสดีครับทุกท่านครับ ^^
การตรวจสมรรถภาพปอดด้วยวิธีสไปโรเมตรีย์ หรือที่เรียกกันติดปากว่า “การตรวจเป่าปอด” เป็นการตรวจทางอาชีวเวชศาสตร์ที่นิยมตรวจกันในหลายๆโรงงาน เพื่อคัดกรองปัญหาสุขภาพของระบบทางเดินหายใจของพนักงานที่ทางโรงงานพิจารณาแล้วเห็นว่ามีความเสี่ยง จากการสัมผัสปัจจัยเสี่ยงในที่ทำงาน การตรวจสมรรถภาพปอดด้วยวิธีนี้ นับว่าเป็นการตรวจที่ทำได้สะดวก ประหยัด และยังสามารถออกให้บริการตรวจนอกสถานที่ได้ แต่อย่างไรก็ดี เช่นเดียวกับการตรวจทางการแพทย์อื่นๆ การตรวจสไปโรเมตรีย์ส ก็สามารถก็ให้เกิดผลข้างเคียงแก่ผู้ที่เข้ารับการตรวจได้หลายประการ ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้ส่งตรวจควรต้องตระหนักไว้อยู่เสมอ
ภาพการเป็นลมที่อาจเกิดจากการเป่าปอด จาก www.diversalertnetwork.org
ผลข้างเคียงที่อาจพบได้บ่อยในการตรวจสไปโรเมตรีย์ คือ
การเป็นลม หรือ Syncope ซึ่งอาจเกิดจากการเพิ่มความดันในช่องทรวงอก ในขณะออกแรงเป่าลมออกจากปอดเต็มที่ ทำให้ลดการไหลเวียนของเลือดกลับสู่หัวใจ และทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอชั่วขณะ แม้อาการเป็นลมหมดสติ จะเป็นผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นเพียงระยะเวลาสั้นๆ และโดยทั่วไปไม่ได้ก่อให้เกิดผลต่อสุขภาพที่ร้ายแรง แต่ในขณะที่เป็นลมหรือหมดสตินั้น อาจเกิดอุบัติเหตุจากการล้มลง หรือพลัดตกจากเก้าอี้ ก่อให้เกิดการกระทบกระเทือนต่อศีรษะได้ ดังนั้น เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้น จึงควรจัดการตรวจในท่านั่งบนเก้าอี้ที่มีที่เท้าแขนและไม่มีล้อ
นอกจากอาการเป็นลมหมดสติแล้ว อาการเวียนศีรษะก็เป็นอีกอาการหนึ่งที่อาจพบได้เช่นเดียวกัน ซึ่งอาจทำให้เสียการทรงตัวและล้มลงเกิดอุบัติเหตุได้ และการตรวจสไปโรเมตรีย์ ยังอาจก่อให้เกิดการเพิ่มความดันในกระโหลกศีรษะ ซึ่งก่อให้เกิดอาการปวดศีรษะในผู้รับการตรวจ ได้อีกด้วย
ภาวะหลอดลมตีบ หรือ bronchospasm เป็นอีกภาวะหนึ่งที่อาจเกิดขึ้นได้ขณะทำสไปโรเมตรีย์ โดยเฉพาะในผู้ที่มีโรคประจำตัวหอบหืด หรือโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ซึ่งอาจเกิดจากการหายใจอออกอย่างแรงทำให้ไปกระตุ้นระบบประสาทพาราซิมพาเทติก ซึ่งหากเกิดหลอดลมตีบอย่างรุนแรง อาจก่อให้เกิดอันตรายได้ นอกจากนี้ การตรวจสไปโรเมตรีย์ ยังอาจก่อให้เกิดอาการไอต่อเนื่องภายหลังการตรวจได้ด้วย
ประเด็นสำคัญอีกประการหนึ่งที่ควรระวังในการตรวจสไปโรเมตรีย์ คือ การติดเชื้อ โดยเฉพาะการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจที่อาจติดต่อกันได้ทางการสัมผัสเสมหะหรือเชื้อโรคในอากาศ แต่อย่างไรก็ดีในหน่วยการตรวจที่มีมาตรฐานจะมีวิธีการในการป้องกันการติดเชื้อจากการตรวจสไปโรเมตรีย์อยู่แล้ว อีกวิธีการหนึ่งที่ช่วยป้องกันการแพร่กระจายเชื้อได้ คือ การคัดกรองผู้ที่เข้ารับการตรวจ ในผู้ที่มีเป็นหรือมีอาการของโรคติดต่อระบบทางเดินหายใจ ควรงดการตรวจสไปโรเมตรีย์ไว้ก่อนจนกว่าจะรักษาหายดี
ภาพการติดเชื้อที่ปอด จาก www.healthtap.com
สำหรับผลข้างเคียงอื่นๆ ที่อาจเกิดได้ในการตรวจสไปโรเมตรีย์ ได้แก่ การเกิดภาวะลมรั่วในช่องเยื่อหุ้มปอด อาการเจ็บหน้าอก ซึ่งแม้ว่าเป็นภาวะที่พบได้ไม่บ่อย แต่หากเกิดขึ้นก็อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้รับการตรวจได้เช่นกัน
ปัจจุบัน สมาคมโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย ได้กำหนดข้อห้ามในการทำสไปโรเมตรีย์ในงานอาชีวอนามัยไว้ ดังนี้
(1) ไอเป็นเลือด
(2) มีภาวะลมรั่วในช่องเยื่อหุ้มปอดที่ยังไม่ได้รับการรักษา
(3) ระบบหลอดเลือดและหัวใจไม่คงที่ เช่น ความดันโลหิตสูงที่ยังไม่ได้รับการรักษาหรือควบคุมไม่ได้ , มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (Myocardial infarction) ในระยะเวลาไม่เกิน 1 เดือนที่ผ่านมา, มีภาวะลิ่มเลือดอุดตันที่หลอดเลือดปอด Pulmonary embolism
(4) เส้นเลือดแดงโป่ง (Aneurysm) ในทรวงอก ท้องหรือสมอง
(5) เพิ่งได้รับการผ่าตัดตา เช่น ผ่าตัดลอกต้อกระจก
(6) เพิ่งได้รับการผ่าตัดช่องอกหรือช่องท้อง
(7) ทราบว่าติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจเช่นวัณโรคปอดระยะติดต่อ
(8) สตรีมีครรภ์ ยกเว้นในบางรายที่จําเป็นต้องทําการตรวจ
(9) ผู้ที่มีอาการเจ็บป่วยที่อาจมีผลต่อการทดสอบสไปโรเมตรีย์ เช่น คลื่นไส้ หรืออาเจียนมาก
ซึ่งผู้ที่มีภาวะที่เป็นข้อห้ามในการตรวจเหล่านี้ ควรงดหรือเลื่อนการตรวจออกไปก่อนจนกว่าจะหายจากโรคหรือภาวะอันเป็นข้อห้ามนั้นๆ
จะเห็นได้ว่าแม้การตรวจสมรรถภาพปอดด้วยวิธีสไปโรเมตรีย์สจะเป็นการตรวจที่สะดวก ประหยัด และค่อนข้างปลอดภัย แต่ก็ยังสามารถก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้ในหลายประการ ดังนั้น เช่นเดียวกับการตรวจทุกอย่าง
ผู้ส่งตรวจควรคัดเลือกการตรวจเฉพาะผู้ที่มีความจำเป็นต้องรับการตรวจชนิดนั้นๆ เท่านั้น โดยมีการประเมินความเสี่ยงก่อนส่งตรวจ ซึ่งนอกจากจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียงจากการตรวจแล้ว ยังเป็นการช่วยลดค่าใช้จ่ายในการตรวจอีกด้วยเพราะไม่ต้องเสียเงินตรวจในสิ่งที่ไม่จำเป็น
เรื่องผลข้างเคียงจากการตรวจสมรรถภาพปอดด้วยวิธีสไปโรเมตรีย์
เรียบเรียงโดย นพ.ศรัณย์ ศรีคำ
สำเร็จการศึกษาปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ศึกษาต่อเฉพาะทางด้านอาชีวเวชศาสตร์ที่โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี
ได้รับวุฒิบัตรสาขาเวชศาสตร์ป้องกัน แขนงอาชีวเวชศาสตร์ จากแพทยสภา
และสำเร็จการศึกษาปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
การทำงาน
ปัจจุบันปฏิบัติงานที่กลุ่มงานอาชีวเวชกรรม โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา
ศึกษาต่อเฉพาะทางด้านอาชีวเวชศาสตร์ที่โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี
ได้รับวุฒิบัตรสาขาเวชศาสตร์ป้องกัน แขนงอาชีวเวชศาสตร์ จากแพทยสภา
และสำเร็จการศึกษาปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
การทำงาน
ปัจจุบันปฏิบัติงานที่กลุ่มงานอาชีวเวชกรรม โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา
บทความจากน้องหมอก้องเป็นอย่างไรบ้างครับ หมอบีหวังว่าบทความนี้ จะช่วยให้พนักงานทุกคนตรวจเป่าปอดได้อย่างปลอดภัยเพื่อการเฝ้าระวังโรคปอดจากการทำงานกับสารเคมีต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพนะครับ
สำหรับวันนี้ต้องขอขอบคุณน้องหมอก้องสำหรับบทความดีดี และสวัสดีครับทุกท่านครับ ^^