Office Ergonomics การยศาสตร์ในสำนักงาน
สวัสดีครับวันนี้หมอบีขอแนะนำบทความดีดีของน้องหมอจอย แพทย์หญิงสุรีรัตน์ ธีระวณิชตระกูล แพทย์วุฒิบัตรเฉพาะทางอาชีวเวชศาสตร์ จากโรงพยาบาลพานทอง เกี่ยวกับ Office Ergonomics การยศาสตร์ในสำนักงาน หรือ การดูแลสุขภาพสำหรับคนที่ทำงานกับคอมพิวเตอร์เป็นระยะเวลานานๆ ปัจจุบันคอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทกับชีวิตประจำวันของเราทุกคนมากบ้างน้อยบ้าง การทำงานกับคอมพิวเตอร์เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้สำหรับคนส่วนใหญ่ เราควรปฏิบัติตัวอย่างไรจึงจะไม่มีอาการเจ็บป่วยจากการทำงานแบบนี้
ใครต้องการอ่านบทความใหม่ๆของหมอบีก่อนใคร สามารถรับอีเมล์แจ้งบทความของหมอบีโดยลงทะเบียนอีเมล์ได้ที่หน้าเวป www.doctor-bee.net เลยนะครับ และกดไลค์ได้ที่แฟนเพจ DoctorBee ครับ
เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาเรามาอ่านบทความของน้องหมอจอยกันเลยครับ ^^
การทำงานในสำนักงานถึงแม้ว่าจะดูไม่หนักแต่ก็อาจทำให้เกิดโรคทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อได้เนื่องจากลักษณะของงานมักจำเป็นต้องอยู่ในท่าใดท่าหนึ่งเป็นเวลานานๆหรือมีท่าทางการทำงานที่ไม่เหมาะสมหรือเคลื่อนไหวซ้ำซากเป็นประจำซึ่งสิ่งเหล่านี้ส่งผลเพิ่มความเครียดต่อระบบกระดูกและกล้ามเนื้อทำให้เกิดการบาดเจ็บได้
การยศาสตร์(Ergonomics):หมายถึง การเรียนรู้ความสามารถและข้อจำกัดของมนุษย์ เพื่อใช้ออกแบบลักษณะและวิธีการทำงาน รวมถึงประโยชน์ในการออกแบบทางวิศวกรรม เช่น เครื่องมือ เครื่องจักร อาคาร ผลิตภัณฑ์ สภาพแวดล้อมให้เกิดความเหมาะสมกับมนุษย์ทั้งร่างกายและจิตใจให้มากที่สุด เพื่อให้มนุษย์สามารถทำงานได้ดีขึ้น เร็วขึ้น และ ต้องปลอดภัยมากขึ้น
หลักสูตรการยศาสตร์ระดับผู้เชี่ยวชาญ มีตั้งแต่ระดับปริญญาโทและเอก ทั้งในประเทศและต่างประเทศ สำหรับในประเทศชาติไทยของเรา มีการรวมตัวกันของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการยศาสตร์เป็นสมาคม ชื่อว่า สมาคมการยศาสตร์ไทย (Ergonomics Society of Thailand) มีจัดกิจกรรมต่างๆ เป็นระยะ รายละเอียดเพิ่มเติม www.est.or.th
การยศาสตร์ในสำนักงาน (Office Ergonomics)หมายถึง การจัดสภาพการทำงานในสำนักงานให้เหมาะสมกับพนักงาน โดยให้ความสำคัญในการจัดวางตำแหน่งอุปกรณ์เพื่อลดความเสี่ยงในการบาดเจ็บ โดยกล่าวถึงลักษณะท่าทางการทำงานที่เหมาะสมกับสรีระ ทำให้สามารถทำงานได้อย่างสะดวกสบายและมีประสิทธิภาพ หลีกเลี่ยงท่าทางที่สามารถก่อให้เกิดอันตราย ได้แก่ การโน้มตัวไปข้างหน้า การยืดแขนมากเกินไป การนั่งเก้าอี้ที่ต่ำหรือสูงเกินไป เป็นต้น
ท่าทางการทำงานที่ถูกต้องประกอบด้วย
เครื่องมือที่ใช้ประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ บางตัวได้รับความนิยมสูง เช่น Rapid Upper Limb Assessment (RULA) ซึ่งได้รับความนิยมในการนำมาใช้ประเมินงานที่ใช้มือทำเป็นหลัก 3 เครื่องมือเหล่านี้ บางตัวแจกฟรี นำมาใช้ต่อได้ แต่บางตัวมีลิขสิทธิ์ต้องซื้อก่อนจึงจะนำมาใช้ได้ บางตัวมีงานวิจัยรับรองว่าได้ผลจริง บางตัวอาจไม่มี เวลาจะเลือกใช้ต้องเลือกดีๆ ในบางบริษัทมีทีมการยศาสตร์ของโรงงานซึ่งคิดค้นเครื่องมือประเมินการยศาสตร์ขึ้นมาใช้เพื่อให้จำเพาะต่องานของโรงงานตนเองเลย แต่มักมีลิขสิทธิ์ นำมาใช้ทั่วไปไม่ได้
สำหรับการประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์จากการทำงานคอมพิวเตอร์ ที่น่าสนใจคือ Rapid Office Strain Assessment (ROSA) ซึ่งเครื่องมือนี้ได้มาจากงานวิจัยของ Sonne, M.W.L et al ซึ่งในประเทศไทย ก็มีการนำ ROSA ไปใช้ในการประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ในพนักงานสำนักงานมหาวิทยาลัย
การทำงานด้วยระยะเวลานานๆ ไม่ได้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน เนื่องจากระยะเวลาในการทำงานเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดความเมื่อยล้าได้ ไม่เฉพาะที่กล้ามเนื้อส่วนต่างๆของร่างกายเท่านั้น แต่รวมไปถึงสายตาและระบบประสาทด้วย ทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดต่ำลง
(ร่าง)มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมการจัดสภาพการทำงานตามหลักการยศาสตร์: การทำงานกับคอมพิวเตอร์ ได้มีข้อเสนอแนะเรื่องระยะเวลาการทำงานและระยะเวลาพัก ดังนี้
1. งานที่ต้องอ่านข้อมูลจากจอคอมพิวเตอร์ หรือ ใช้แป้นพิมพ์ตลอดเวลา ควรทำติดต่อกันเพียง 50 นาที และพัก 10 นาที นอกจากนี้ การใช้คอมพิวเตอร์มากกว่า 4 ชั่วโมงต่อวัน จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดความผิดปกติของระบบกระดูกและกล้ามเนื้อเนื่องจากการทำงานได้ จึงควรพักให้บ่อยขึ้นในกรณีที่จำเป็นต้องใช้งานคอมพิวเตอร์มากกว่า 4 ชั่วโมงต่อวัน
2. ในช่วง 50 นาที ในการใช้คอมพิวเตอร์ หากมีอาการล้าสายตา ควรหมั่นพักสายตาเป็นระยะ โดยใช้กฎ 20-20-20 คือพักสายตาหลังจากใช้คอมพิวเตอร์นานติดต่อกัน 20 นาที โดยมองออกไปไกล 6 เมตร นานอย่างน้อย 20 วินาที เพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อตา หรือ อาจใช้วิธีการหลับตาเพื่อพักสายตานาน 20 วินาที
3. ควรทำงานอย่างอื่นร่วมไปด้วย เพื่อลดระยะเวลาในการทำงานกับคอมพิวเตอร์ให้น้อยลง
ประวัติผู้เขียน : แพทย์หญิงสุรีรัตน์ ธีระวณิชตระกูล (หมอจอย)
การศึกษา:
แพทยศาสตรบัณฑิต (พ.บ.) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.) สาขาการวิจัยและการจัดการด้านสุขภาพ แขนงอาชีวเวชศาสตร์
ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วุฒิบัตรวิชาชีพเวชกรรม (ว.ว.) สาขาเวชศาสตร์ป้องกัน แขนงอาชีวเวชศาสตร์
ตำแหน่งหน้าที่ปัจจุบัน
หัวหน้ากลุ่มงานอาชีวเวชกรรม รพ.พานทอง จ.ชลบุรี
References
1. นริศ เจริญพร. การยศาสตร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2543.
2. สสิธร เทพตระการพร . ปัญหาและความเสี่ยงของผู้ปฏิบัติงานในสำนักงาน . [ออนไลน์]. 2554. แหล่งที่มา: http://kcenter.anamai.moph.go.th/download.php info_id=1597&download_file=pdf/b30ab08ca1004b221b6767a4261846a3.pdf [2558, 28 สิงหาคม]
3.McAtamney, L. and Corlett, E.N. RULA: a survey method for the investigation of work-related upper limb disorders.Applied Ergonomics1993; 24, 91-99.
4. Sonne, M.W.L., Villalta, D. L. and Andrews, D. Development and evaluation of an office ergonomic risk checklist: the Rapid Office Strain Assessment (ROSA).Applied Ergonomics 2012;43(1):98-108.
5. เมธินี ครุสันธิ์ และ สุนิสา ชายเกลี้ยง. การประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ในพนักงานสำนักงานมหาวิทยาลัย Ergonomic Risk Assessment in University Office Workers. KKU Res. J. 2014; 19(5): 696-707.
6. (ร่าง)มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมการจัดสภาพการทำงานตามหลักการยศาสตร์:การทำงานกับคอมพิวเตอร์.[ออนไลน์]. 2556. แหล่งที่มา: https://www.dropbox.com/s/ioinn7kz0l5z8c5/FDNS-VDT-FDNS-20NOV2013.pdf [2558, 28 สิงหาคม]
ใครต้องการอ่านบทความใหม่ๆของหมอบีก่อนใคร สามารถรับอีเมล์แจ้งบทความของหมอบีโดยลงทะเบียนอีเมล์ได้ที่หน้าเวป www.doctor-bee.net เลยนะครับ และกดไลค์ได้ที่แฟนเพจ DoctorBee ครับ
เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาเรามาอ่านบทความของน้องหมอจอยกันเลยครับ ^^
การทำงานในสำนักงานถึงแม้ว่าจะดูไม่หนักแต่ก็อาจทำให้เกิดโรคทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อได้เนื่องจากลักษณะของงานมักจำเป็นต้องอยู่ในท่าใดท่าหนึ่งเป็นเวลานานๆหรือมีท่าทางการทำงานที่ไม่เหมาะสมหรือเคลื่อนไหวซ้ำซากเป็นประจำซึ่งสิ่งเหล่านี้ส่งผลเพิ่มความเครียดต่อระบบกระดูกและกล้ามเนื้อทำให้เกิดการบาดเจ็บได้
การยศาสตร์(Ergonomics):หมายถึง การเรียนรู้ความสามารถและข้อจำกัดของมนุษย์ เพื่อใช้ออกแบบลักษณะและวิธีการทำงาน รวมถึงประโยชน์ในการออกแบบทางวิศวกรรม เช่น เครื่องมือ เครื่องจักร อาคาร ผลิตภัณฑ์ สภาพแวดล้อมให้เกิดความเหมาะสมกับมนุษย์ทั้งร่างกายและจิตใจให้มากที่สุด เพื่อให้มนุษย์สามารถทำงานได้ดีขึ้น เร็วขึ้น และ ต้องปลอดภัยมากขึ้น
หลักสูตรการยศาสตร์ระดับผู้เชี่ยวชาญ มีตั้งแต่ระดับปริญญาโทและเอก ทั้งในประเทศและต่างประเทศ สำหรับในประเทศชาติไทยของเรา มีการรวมตัวกันของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการยศาสตร์เป็นสมาคม ชื่อว่า สมาคมการยศาสตร์ไทย (Ergonomics Society of Thailand) มีจัดกิจกรรมต่างๆ เป็นระยะ รายละเอียดเพิ่มเติม www.est.or.th
การยศาสตร์ในสำนักงาน (Office Ergonomics)หมายถึง การจัดสภาพการทำงานในสำนักงานให้เหมาะสมกับพนักงาน โดยให้ความสำคัญในการจัดวางตำแหน่งอุปกรณ์เพื่อลดความเสี่ยงในการบาดเจ็บ โดยกล่าวถึงลักษณะท่าทางการทำงานที่เหมาะสมกับสรีระ ทำให้สามารถทำงานได้อย่างสะดวกสบายและมีประสิทธิภาพ หลีกเลี่ยงท่าทางที่สามารถก่อให้เกิดอันตราย ได้แก่ การโน้มตัวไปข้างหน้า การยืดแขนมากเกินไป การนั่งเก้าอี้ที่ต่ำหรือสูงเกินไป เป็นต้น
ภาพตัวอย่างท่าทางการทำงานคอมพิวเตอร์ที่ถูกต้อง จาก www.exeterphysio.co.uk
ท่าทางการทำงานที่ถูกต้องประกอบด้วย
- ศีรษะตั้งตรงไหล่ผ่อนคลาย
- จอภาพ ควรอยู่ตำแหน่งตรงหน้าผู้ใช้จัดให้ห่างจากผู้ใช้40-75 ซม. อยู่ระดับสายตาหรือต่ำกว่าประมาณ 15องศา ไม่มีแสงสะท้อนจากจอภาพ
- เก้าอี้ ควรเป็นขนาดที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล ปรับระดับสูงต่ำได้ ขอบด้านหน้าของเบาะนั่ง ควรมีลักษณะโค้งเพื่อให้มีพื้นที่ว่างระหว่างด้านหน้าของเบาะกับด้านหลังของหัวเข่า ความสูงของเบาะและพนักพิงจะต้องปรับได้ สะโพก หัวเข่า และข้อเท้า ควรทำมุมอย่างน้อย 90 องศา พนักพิงจะต้องสัมผัสกับแผ่นหลังโดยสมบูรณ์และที่เท้าแขนสามารถช่วยพยุงแขนขณะใช้แป้นพิมพ์
- แป้นพิมพ์และเมาส์ อยู่ในระยะห่างและความสูงที่พอเหมาะ ปล่อยแขนตามธรรมชาติและให้ข้อศอกอยู่ใกล้ตัว
- โต๊ะ สูงจากพื้นประมาณ 65-70 ซม. และมีที่ว่างพอให้สามารถขยับขาได้สะดวก
- เท้า วางราบกับพื้นหรือวางบนที่พักเท้า
เครื่องมือที่ใช้ประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ บางตัวได้รับความนิยมสูง เช่น Rapid Upper Limb Assessment (RULA) ซึ่งได้รับความนิยมในการนำมาใช้ประเมินงานที่ใช้มือทำเป็นหลัก 3 เครื่องมือเหล่านี้ บางตัวแจกฟรี นำมาใช้ต่อได้ แต่บางตัวมีลิขสิทธิ์ต้องซื้อก่อนจึงจะนำมาใช้ได้ บางตัวมีงานวิจัยรับรองว่าได้ผลจริง บางตัวอาจไม่มี เวลาจะเลือกใช้ต้องเลือกดีๆ ในบางบริษัทมีทีมการยศาสตร์ของโรงงานซึ่งคิดค้นเครื่องมือประเมินการยศาสตร์ขึ้นมาใช้เพื่อให้จำเพาะต่องานของโรงงานตนเองเลย แต่มักมีลิขสิทธิ์ นำมาใช้ทั่วไปไม่ได้
สำหรับการประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์จากการทำงานคอมพิวเตอร์ ที่น่าสนใจคือ Rapid Office Strain Assessment (ROSA) ซึ่งเครื่องมือนี้ได้มาจากงานวิจัยของ Sonne, M.W.L et al ซึ่งในประเทศไทย ก็มีการนำ ROSA ไปใช้ในการประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ในพนักงานสำนักงานมหาวิทยาลัย
การทำงานด้วยระยะเวลานานๆ ไม่ได้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน เนื่องจากระยะเวลาในการทำงานเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดความเมื่อยล้าได้ ไม่เฉพาะที่กล้ามเนื้อส่วนต่างๆของร่างกายเท่านั้น แต่รวมไปถึงสายตาและระบบประสาทด้วย ทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดต่ำลง
ภาพแนะนำวิธีบริหารร่างกายระหว่างพักสำหรับการทำงานคอมพิวเตอรฺ์ จาก www.npc-se.co.th
1. งานที่ต้องอ่านข้อมูลจากจอคอมพิวเตอร์ หรือ ใช้แป้นพิมพ์ตลอดเวลา ควรทำติดต่อกันเพียง 50 นาที และพัก 10 นาที นอกจากนี้ การใช้คอมพิวเตอร์มากกว่า 4 ชั่วโมงต่อวัน จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดความผิดปกติของระบบกระดูกและกล้ามเนื้อเนื่องจากการทำงานได้ จึงควรพักให้บ่อยขึ้นในกรณีที่จำเป็นต้องใช้งานคอมพิวเตอร์มากกว่า 4 ชั่วโมงต่อวัน
2. ในช่วง 50 นาที ในการใช้คอมพิวเตอร์ หากมีอาการล้าสายตา ควรหมั่นพักสายตาเป็นระยะ โดยใช้กฎ 20-20-20 คือพักสายตาหลังจากใช้คอมพิวเตอร์นานติดต่อกัน 20 นาที โดยมองออกไปไกล 6 เมตร นานอย่างน้อย 20 วินาที เพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อตา หรือ อาจใช้วิธีการหลับตาเพื่อพักสายตานาน 20 วินาที
3. ควรทำงานอย่างอื่นร่วมไปด้วย เพื่อลดระยะเวลาในการทำงานกับคอมพิวเตอร์ให้น้อยลง
ประวัติผู้เขียน : แพทย์หญิงสุรีรัตน์ ธีระวณิชตระกูล (หมอจอย)
การศึกษา:
แพทยศาสตรบัณฑิต (พ.บ.) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.) สาขาการวิจัยและการจัดการด้านสุขภาพ แขนงอาชีวเวชศาสตร์
ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วุฒิบัตรวิชาชีพเวชกรรม (ว.ว.) สาขาเวชศาสตร์ป้องกัน แขนงอาชีวเวชศาสตร์
ตำแหน่งหน้าที่ปัจจุบัน
หัวหน้ากลุ่มงานอาชีวเวชกรรม รพ.พานทอง จ.ชลบุรี
References
1. นริศ เจริญพร. การยศาสตร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2543.
2. สสิธร เทพตระการพร . ปัญหาและความเสี่ยงของผู้ปฏิบัติงานในสำนักงาน . [ออนไลน์]. 2554. แหล่งที่มา: http://kcenter.anamai.moph.go.th/download.php info_id=1597&download_file=pdf/b30ab08ca1004b221b6767a4261846a3.pdf [2558, 28 สิงหาคม]
3.McAtamney, L. and Corlett, E.N. RULA: a survey method for the investigation of work-related upper limb disorders.Applied Ergonomics1993; 24, 91-99.
4. Sonne, M.W.L., Villalta, D. L. and Andrews, D. Development and evaluation of an office ergonomic risk checklist: the Rapid Office Strain Assessment (ROSA).Applied Ergonomics 2012;43(1):98-108.
5. เมธินี ครุสันธิ์ และ สุนิสา ชายเกลี้ยง. การประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ในพนักงานสำนักงานมหาวิทยาลัย Ergonomic Risk Assessment in University Office Workers. KKU Res. J. 2014; 19(5): 696-707.
6. (ร่าง)มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมการจัดสภาพการทำงานตามหลักการยศาสตร์:การทำงานกับคอมพิวเตอร์.[ออนไลน์]. 2556. แหล่งที่มา: https://www.dropbox.com/s/ioinn7kz0l5z8c5/FDNS-VDT-FDNS-20NOV2013.pdf [2558, 28 สิงหาคม]