Freelance 2 by Dr.K (ห้ามป่วย ห้ามพัก ห้ามรักหมอเค)
สวัสดีครับ หมอบีจะมาชวนคุยกันต่อเรื่องหนังฟรีแลนซ์(ห้ามป่วย ห้ามพัก ห้ามรักหมอ) ที่รีวิวแบบหมอบีไปเมื่อสัปดาห์ก่อน ภาคต่อในวันนี้จะเป็นเป็นบทความรีวิวจากพี่หมอเค พันเอก คทาวุธ ดีปรีชา อาจารย์แพทย์จากกรมแพทย์ทหารบกเกี่ยวกับหนังเรื่องนี้ครับ
ใครยังไม่ได้อ่านบทความก่อน บทความรีวิวของหมอบีแนะนำให้ไปอ่านกันก่อนนะครับที่ Freelance (ห้ามป่วย ห้ามพัก ห้ามเป็นโรคจากการทำงาน)
เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาเรามาเริ่มอ่านบทความรีวิวจากพี่หมอเคกันเลยนะครับ ^^
"วันนี้ได้มีเวลาว่างจากงานบ้าง จึงได้ไปชมภาพยนตร์ฮิตในปัจจุบัน เรื่องฟรีแลนซ์(ห้ามป่วย ห้ามพัก ห้ามรักหมอ) ซึ่งเคยดูจากรีวิวของหมอบีไปแล้ว ว่าเป็นเรื่องทางอาชีวเวชศาสตร์ ด้วยความอยากรู้ว่าจริงหรือไม่ จึงได้ไปชม จากการไปชมภาพยนตร์เรื่องนี้ ก็คิดคล้ายๆกัน แต่ก็มีประเด็นที่น่าสนใจหลายๆ ประเด็นขอรีวิวดังนี้
ประเด็นที่ 1 ภาพยนตร์เรื่องนี้ เชื่อว่าเจตนารมณ์ของคนคิดเรื่องนี้ต้องการสื่อในเรื่องของสุขภาพและการทำงาน ซึ่งก็คือ งานอาชีวเวชกรรมนั่นเอง
ประเด็นที่ 2 นั่งดูภาพยนตร์ไปก็คิดไปว่าผู้ป่วยเป็นโรคอะไร เกิดจากการทำงานหรือไม่ นั่งดูฉากในบ้านของผู้ป่วยซึ่งในบ้านก็คือสถานประกอบการของผู้ป่วย เห็นหรือยังครับว่า สถานประกอบการไม่จำเป็นต้องเป็นโรงงานเสมอไป ทุกที่ที่มีคนทำงานก็ถือว่าเป็นสถานประกอบการ เหมือนกัน
จากประเด็นที่ 2 จะพบว่าผู้ป่วยในเรื่องสมมติเป็นโรคผิวหนัง ก็เลยดูว่าจุดแรกที่ผู้ป่วยเป็นคือที่คอ เป็นไปได้หรือไม่ที่น่าจะมาจากเครื่องปรับอากาศ ต่อมาเป็นที่มือ ที่ตัว ก็เป็นไปได้ที่ผู้ป่วยอาจจะ แพ้สารเคมีในปากกาและแท่นรองเขียนของผู้ป่วย
ประเด็นที่น่าสนใจ ที่ผู้ป่วยรายนี้น่าจะเป็นโรคจากการทำงาน ก็คือ พอหยุดพักแล้วอาการดีขึ้น พอกลับไปทำงานเหมือนเดิมแล้วอาการก็เป็นอีก
ประเด็นที่ 3 คือหมอในเรื่องนี้มีการซักประวัติทางอาชีวเวชศาสตร์ ได้แก่การถามว่า คุณทำงานอะไรและมีการสอบถามถึงสิ่งคุกคามในงานด้วย
ประเด็นที่ 4 สะท้อนถึงเรื่องสิทธิในการรักษาพยาบาลของผู้ป่วย ถ้าดูในช่วงต้นเรื่องที่ผู้ป่วยไปสถานพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งแล้วเจ้าหน้าที่ถามเรื่องสิทธิการรักษาของผู้ป่วยแต่ผู้ป่วยบอกไม่มี ซึ่งเป็นไปได้ 2 ทางคือผู้ป่วยอาจมี
สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าอยู่ต่างจังหวัด หรือ ไม่ทราบว่ามีสิทธิ
แต่ที่จะชี้ประเด็นคือสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ในเรื่องนี้คือ ฟรีแลนซ์ถือเป็นประชากรแรงงานนอกระบบ(informal sector) กรณีเจ็บป่วยทั่วไปอาจใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าได้แต่ถ้าเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บจากการทำงานเหมือนผู้ป่วยในเรื่องนี้ จะทำอย่างไร ในเรื่องนี้ในภาพยนตร์ไม่ได้กล่าวไว้ ซึ่งเป็นโจทย์ที่ต้องคิดต่อไป กรณีนี้ผู้ป่วยฟรีแลนซ์ จะเสียสิทธิ์หรือไม่ต้องคิดต่อไป
ประเด็นต่อมา ก็คือ หมอในเรื่องจากอายุและจากที่ว่าจะสอบ(คาดว่าสอบบอร์ด) และที่ผู้ป่วยทักว่าหมอยังเรียนอยู่เหรอ น่าจะสรุปได้ว่า หมอในเรื่องอายุ 30 ปีเป็นแพทย์ประจำบ้านชั้นปีที่ 3 สาขาตจวิทยา ซึ่งตรงหรือใกล้เคียงกับความเป็นจริง
สรุปสุดท้ายก็คือ ภาพยนตร์เรื่องนี้ในมุมมองของผมแนวคิดหลักน่าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพและความปลอดภัย หรือ งานอาชีวเวชกรรมของกลุ่มแรงงานนอกระบบ นั่นเอง สรุปก็คือถ้าอยากให้
งานออกมาดี คนทำงานต้องมีสุขภาพดีด้วยและถ้าคนทำงานสุขภาพดี ก็จะทำให้ผลงานออกมาดี
จะดูได้จากในเรื่องตอนที่ผู้ป่วยไม่สบาย ผลงานก็ออกมาไม่ดี"
เป็นอย่างไรบ้างครับบทความรีวิวจากพี่หมอเค มุมมองต่อหนังเรื่องนี้ของคุณพี่แหวกแนวใช้ได้เลยนะครับ ทั้งนี้ต้องขอขอบคุณ พี่เคที่อนุญาตให้ลงบทความดีดีในเวปของผม และจะมีประวัติย่อๆของพี่เค นำเสนอล็กน้อยครับ (ขอย้ำว่า นี่อย่างย่อ แล้วนะครับ >.<)
เชิญอ่านบทความอื่นๆของหมอบีเพิ่มเติมได้ที่ www.doctor-bee.net และกดไลค์ที่แฟนเพจ DoctorBeeClinic นะคร้าบ ^^
ประวัติย่อ
ชื่อ พันเอก คทาวุธ ดีปรีชา
ตำแหน่ง อาจารย์หัวหน้าแผนกวิชาการแพทย์ กองการศึกษา โรงเรียนเสนารักษ์ กรมแพทย์ทหารบก
การศึกษา
- แพทยศาสตร์บัณฑิต วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า รุ่นที่ 19
- ประกาศนียบัตร แพทย์อาชีวเวชศาสตร์ หลักสูตรระยะสั้น 10 วัน รพ.นพรัตน์ราชธานี
- ประกาศนียบัตร แพทย์อาชีวเวชศาสตร์ หลักสูตร 2 เดือน รพ.นพรัตน์ราชธานี
- ประกาศนียบัตรแพทย์ผู้ประเมินการสูญเสีย สมรรถภาพกายและจิต สำนักงานประกันสังคม
- ประกาศนียบัตรวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก สาขาอาชีวเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาอาชีวเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- วุฒิบัตรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ สาขาเวชศาสตร์ป้องกัน แขนงอาชีวเวชศาสตร์ แพทยสภา
- หลักสูตรปฐมนิเทศนายทหารใหม่ เหล่าทหารแพทย์ รุ่นที่ 21 โรงเรียนเสนารักษ์ กรมแพทย์ทหารบก
- หลักสูตรชั้นนายพัน เหล่าทหารแพทย์ รุ่นที่ 53 โรงเรียนเสนารักษ์ กรมแพทย์ทหารบก
- หลักสูตรหลักประจำ โรงเรียนเสนาธิการทหารบก ชุดที่ 89 โรงเรียนเสนาธิการทหารบก
- หลักสูตรแพทย์ฝังเข็ม รุ่นที่ 6 โรงเรียนเสนารักษ์ กรมแพทย์ทหารบก
- หลักสูตรครูผู้ช่วยชีวิตเชิงยุทธวิธี รุ่นที่ 3 กรมแพทย์ทหารเรือ
การทำงาน
- แพทย์เพิ่มพูนทักษะ รพ.ค่ายสุรศักดิ์มนตรี
- แพทย์ รพ.ค่ายเม็งรายมหาราช
- แพทย์อาชีวเวชศาสตร์ รพ.อานันทมหิดล
- อาจารย์โรงเรียนเสนารักษ์ กรมแพทย์ทหารบก
- ผู้บังคับกองพันเสนารักษ์ที่ 3 กองพลทหารราบที่ 3
ปัจจุบัน อาจารย์หัวหน้าแผนกวิชาการแพทย์ กองการศึกษา โรงเรียนเสนารักษ์ กรมแพทย์ทหารบก
ราชการพิเศษ
- รอง หน.ชุดแพทย์เคลื่อนที่ ฉก.พบ.สน.
- แพทย์ประจำหน่วยตรวจโรคปฐมภูมิ ศูนย์การทหารปืนใหญ่ จ.ลพบุรี
- เลขานุการคณะอนุกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ รพ.อานันทมหิดล
- คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย รพ.อานันทมหิดล
- กรรมการสมาคมโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย วาระ 2552-ปัจจุบัน
ประสบการณ์การเป็นวิทยากร
- อาจารย์พิเศษสอนวิชาอาชีวเวชศาสตร์ แก่นักเรียนแพทย์ทหาร วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า
- หน่วยทหารใน จ.ลพบุรี และ จ.นครราชสีมา
- เป็นวิทยากรให้กับ สสจ.ลพบุรี , สคร.2
ที่อยู่
187/56 หมู่บ้านสันติสุขซอย 8 ถนนสรงประภา 24 แขวงสีกัน เขตดอนเมือง กทม.10210
โทร 02-9289399
ที่ทำงาน
โรงเรียนเสนารักษ์ กรมแพทย์ทหารบก 8/2 ถ.พญาไท แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ
โทร 02-3547600 ต่อ 94397
โทรมือถือ 086-6262305
E-mail : koccmed@gmail.com , medicalamfss@gmail.com
ผลงานวิจัย
1.สิ่งคุกคามต่อสุขภาพกำลังพล โรงพยาบาลค่ายเม็งรายมหาราช ตีพิมพ์ใน วารสารเวชศาสตร์ป้องกันและเอดส์ กรมแพทย์ทหารบก ก.ค.2547
2.คทาวุธดีปรีชา. (2547). อัตราความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของภาวะโรคระบบการหายใจที่เกี่ยวเนื่องกับ การประกอบอาชีพในผู้ผลิตสินค้าประเภทสินค้าไม้ ในกลุ่มสหกรณ์วังน้ําเย็นจังหวัด สระแก้ว. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาอาชีวเวชศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
3. การจัดตั้งที่บังคับการต่อสู้เอาชนะโรคลมร้อน แบบเคลื่อนย้ายได้
4. วิธีการในการป้องกันควบคุมไข้เลือดออก โดยใช้มาตรการ 4 E ร่วมกับการพ่นหมอกควัน สามารถลดอุบัติการณ์ของการเกิดโรคไข้เลือดออกจนไม่เกิดไข้เลือดออก และสามารถลด ค่า HI,CI จนใกล้ศูนย์ได้
5.โครงการวิจัย การประเมินความสุขของกำลังพลกองพลทหารราบ นำเสนอแบบปากเปล่าในที่ประชุมวิชาการนานาชาติทางด้านอาชีวอนามัย (ICOH 2015) กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้
6.งานวิจัย เรื่อง การศึกษาเปรียบเทียบอัตราการเจ็บป่วยในห้วงของการฝึกของทหารกองประจำการที่ร้องขอเข้ารับราชการและไม่ได้ร้องขอเข้ารับราชการ
7.ความสัมพันธ์ของระดับการศึกษาก่อนเข้าศึกษาในหลักสูตรนักเรียนนายสิบ เหล่าทหารแพทย์ กับผลสัมฤทธิ์ของการศึกษาของ นักเรียนนายสิบ เหล่าทหารแพทย์ (อยู่ระหว่างการเขียนรายงานเพื่อตีพิมพ์)
8.การประเมินประสิทธิผลของการศึกษาหลักสูตรชั้นนายพัน เหล่าทหารแพทย์ศึกษาแบบอิเล็กทรอนิกส์
9. การพัฒนานวตกรรมเครื่องช่วยฝึก หุ่นเจาะระบายลมรั่วในโพรงเยื่อหุ้มปอด(อยู่ในระหว่างการพัฒนา)
ใครยังไม่ได้อ่านบทความก่อน บทความรีวิวของหมอบีแนะนำให้ไปอ่านกันก่อนนะครับที่ Freelance (ห้ามป่วย ห้ามพัก ห้ามเป็นโรคจากการทำงาน)
เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาเรามาเริ่มอ่านบทความรีวิวจากพี่หมอเคกันเลยนะครับ ^^
"วันนี้ได้มีเวลาว่างจากงานบ้าง จึงได้ไปชมภาพยนตร์ฮิตในปัจจุบัน เรื่องฟรีแลนซ์(ห้ามป่วย ห้ามพัก ห้ามรักหมอ) ซึ่งเคยดูจากรีวิวของหมอบีไปแล้ว ว่าเป็นเรื่องทางอาชีวเวชศาสตร์ ด้วยความอยากรู้ว่าจริงหรือไม่ จึงได้ไปชม จากการไปชมภาพยนตร์เรื่องนี้ ก็คิดคล้ายๆกัน แต่ก็มีประเด็นที่น่าสนใจหลายๆ ประเด็นขอรีวิวดังนี้
ประเด็นที่ 1 ภาพยนตร์เรื่องนี้ เชื่อว่าเจตนารมณ์ของคนคิดเรื่องนี้ต้องการสื่อในเรื่องของสุขภาพและการทำงาน ซึ่งก็คือ งานอาชีวเวชกรรมนั่นเอง
ขอขอบคุณภาพจาก movie.sanook.com
ประเด็นที่ 2 นั่งดูภาพยนตร์ไปก็คิดไปว่าผู้ป่วยเป็นโรคอะไร เกิดจากการทำงานหรือไม่ นั่งดูฉากในบ้านของผู้ป่วยซึ่งในบ้านก็คือสถานประกอบการของผู้ป่วย เห็นหรือยังครับว่า สถานประกอบการไม่จำเป็นต้องเป็นโรงงานเสมอไป ทุกที่ที่มีคนทำงานก็ถือว่าเป็นสถานประกอบการ เหมือนกัน
จากประเด็นที่ 2 จะพบว่าผู้ป่วยในเรื่องสมมติเป็นโรคผิวหนัง ก็เลยดูว่าจุดแรกที่ผู้ป่วยเป็นคือที่คอ เป็นไปได้หรือไม่ที่น่าจะมาจากเครื่องปรับอากาศ ต่อมาเป็นที่มือ ที่ตัว ก็เป็นไปได้ที่ผู้ป่วยอาจจะ แพ้สารเคมีในปากกาและแท่นรองเขียนของผู้ป่วย
ประเด็นที่น่าสนใจ ที่ผู้ป่วยรายนี้น่าจะเป็นโรคจากการทำงาน ก็คือ พอหยุดพักแล้วอาการดีขึ้น พอกลับไปทำงานเหมือนเดิมแล้วอาการก็เป็นอีก
ประเด็นที่ 3 คือหมอในเรื่องนี้มีการซักประวัติทางอาชีวเวชศาสตร์ ได้แก่การถามว่า คุณทำงานอะไรและมีการสอบถามถึงสิ่งคุกคามในงานด้วย
ประเด็นที่ 4 สะท้อนถึงเรื่องสิทธิในการรักษาพยาบาลของผู้ป่วย ถ้าดูในช่วงต้นเรื่องที่ผู้ป่วยไปสถานพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งแล้วเจ้าหน้าที่ถามเรื่องสิทธิการรักษาของผู้ป่วยแต่ผู้ป่วยบอกไม่มี ซึ่งเป็นไปได้ 2 ทางคือผู้ป่วยอาจมี
สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าอยู่ต่างจังหวัด หรือ ไม่ทราบว่ามีสิทธิ
แต่ที่จะชี้ประเด็นคือสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ในเรื่องนี้คือ ฟรีแลนซ์ถือเป็นประชากรแรงงานนอกระบบ(informal sector) กรณีเจ็บป่วยทั่วไปอาจใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าได้แต่ถ้าเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บจากการทำงานเหมือนผู้ป่วยในเรื่องนี้ จะทำอย่างไร ในเรื่องนี้ในภาพยนตร์ไม่ได้กล่าวไว้ ซึ่งเป็นโจทย์ที่ต้องคิดต่อไป กรณีนี้ผู้ป่วยฟรีแลนซ์ จะเสียสิทธิ์หรือไม่ต้องคิดต่อไป
ประเด็นต่อมา ก็คือ หมอในเรื่องจากอายุและจากที่ว่าจะสอบ(คาดว่าสอบบอร์ด) และที่ผู้ป่วยทักว่าหมอยังเรียนอยู่เหรอ น่าจะสรุปได้ว่า หมอในเรื่องอายุ 30 ปีเป็นแพทย์ประจำบ้านชั้นปีที่ 3 สาขาตจวิทยา ซึ่งตรงหรือใกล้เคียงกับความเป็นจริง
สรุปสุดท้ายก็คือ ภาพยนตร์เรื่องนี้ในมุมมองของผมแนวคิดหลักน่าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพและความปลอดภัย หรือ งานอาชีวเวชกรรมของกลุ่มแรงงานนอกระบบ นั่นเอง สรุปก็คือถ้าอยากให้
งานออกมาดี คนทำงานต้องมีสุขภาพดีด้วยและถ้าคนทำงานสุขภาพดี ก็จะทำให้ผลงานออกมาดี
จะดูได้จากในเรื่องตอนที่ผู้ป่วยไม่สบาย ผลงานก็ออกมาไม่ดี"
เป็นอย่างไรบ้างครับบทความรีวิวจากพี่หมอเค มุมมองต่อหนังเรื่องนี้ของคุณพี่แหวกแนวใช้ได้เลยนะครับ ทั้งนี้ต้องขอขอบคุณ พี่เคที่อนุญาตให้ลงบทความดีดีในเวปของผม และจะมีประวัติย่อๆของพี่เค นำเสนอล็กน้อยครับ (ขอย้ำว่า นี่อย่างย่อ แล้วนะครับ >.<)
เชิญอ่านบทความอื่นๆของหมอบีเพิ่มเติมได้ที่ www.doctor-bee.net และกดไลค์ที่แฟนเพจ DoctorBeeClinic นะคร้าบ ^^
ประวัติย่อ
ชื่อ พันเอก คทาวุธ ดีปรีชา
ตำแหน่ง อาจารย์หัวหน้าแผนกวิชาการแพทย์ กองการศึกษา โรงเรียนเสนารักษ์ กรมแพทย์ทหารบก
การศึกษา
- แพทยศาสตร์บัณฑิต วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า รุ่นที่ 19
- ประกาศนียบัตร แพทย์อาชีวเวชศาสตร์ หลักสูตรระยะสั้น 10 วัน รพ.นพรัตน์ราชธานี
- ประกาศนียบัตร แพทย์อาชีวเวชศาสตร์ หลักสูตร 2 เดือน รพ.นพรัตน์ราชธานี
- ประกาศนียบัตรแพทย์ผู้ประเมินการสูญเสีย สมรรถภาพกายและจิต สำนักงานประกันสังคม
- ประกาศนียบัตรวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก สาขาอาชีวเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาอาชีวเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- วุฒิบัตรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ สาขาเวชศาสตร์ป้องกัน แขนงอาชีวเวชศาสตร์ แพทยสภา
- หลักสูตรปฐมนิเทศนายทหารใหม่ เหล่าทหารแพทย์ รุ่นที่ 21 โรงเรียนเสนารักษ์ กรมแพทย์ทหารบก
- หลักสูตรชั้นนายพัน เหล่าทหารแพทย์ รุ่นที่ 53 โรงเรียนเสนารักษ์ กรมแพทย์ทหารบก
- หลักสูตรหลักประจำ โรงเรียนเสนาธิการทหารบก ชุดที่ 89 โรงเรียนเสนาธิการทหารบก
- หลักสูตรแพทย์ฝังเข็ม รุ่นที่ 6 โรงเรียนเสนารักษ์ กรมแพทย์ทหารบก
- หลักสูตรครูผู้ช่วยชีวิตเชิงยุทธวิธี รุ่นที่ 3 กรมแพทย์ทหารเรือ
การทำงาน
- แพทย์เพิ่มพูนทักษะ รพ.ค่ายสุรศักดิ์มนตรี
- แพทย์ รพ.ค่ายเม็งรายมหาราช
- แพทย์อาชีวเวชศาสตร์ รพ.อานันทมหิดล
- อาจารย์โรงเรียนเสนารักษ์ กรมแพทย์ทหารบก
- ผู้บังคับกองพันเสนารักษ์ที่ 3 กองพลทหารราบที่ 3
ปัจจุบัน อาจารย์หัวหน้าแผนกวิชาการแพทย์ กองการศึกษา โรงเรียนเสนารักษ์ กรมแพทย์ทหารบก
ราชการพิเศษ
- รอง หน.ชุดแพทย์เคลื่อนที่ ฉก.พบ.สน.
- แพทย์ประจำหน่วยตรวจโรคปฐมภูมิ ศูนย์การทหารปืนใหญ่ จ.ลพบุรี
- เลขานุการคณะอนุกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ รพ.อานันทมหิดล
- คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย รพ.อานันทมหิดล
- กรรมการสมาคมโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย วาระ 2552-ปัจจุบัน
ประสบการณ์การเป็นวิทยากร
- อาจารย์พิเศษสอนวิชาอาชีวเวชศาสตร์ แก่นักเรียนแพทย์ทหาร วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า
- หน่วยทหารใน จ.ลพบุรี และ จ.นครราชสีมา
- เป็นวิทยากรให้กับ สสจ.ลพบุรี , สคร.2
ที่อยู่
187/56 หมู่บ้านสันติสุขซอย 8 ถนนสรงประภา 24 แขวงสีกัน เขตดอนเมือง กทม.10210
โทร 02-9289399
ที่ทำงาน
โรงเรียนเสนารักษ์ กรมแพทย์ทหารบก 8/2 ถ.พญาไท แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ
โทร 02-3547600 ต่อ 94397
โทรมือถือ 086-6262305
E-mail : koccmed@gmail.com , medicalamfss@gmail.com
ผลงานวิจัย
1.สิ่งคุกคามต่อสุขภาพกำลังพล โรงพยาบาลค่ายเม็งรายมหาราช ตีพิมพ์ใน วารสารเวชศาสตร์ป้องกันและเอดส์ กรมแพทย์ทหารบก ก.ค.2547
2.คทาวุธดีปรีชา. (2547). อัตราความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของภาวะโรคระบบการหายใจที่เกี่ยวเนื่องกับ การประกอบอาชีพในผู้ผลิตสินค้าประเภทสินค้าไม้ ในกลุ่มสหกรณ์วังน้ําเย็นจังหวัด สระแก้ว. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาอาชีวเวชศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
3. การจัดตั้งที่บังคับการต่อสู้เอาชนะโรคลมร้อน แบบเคลื่อนย้ายได้
4. วิธีการในการป้องกันควบคุมไข้เลือดออก โดยใช้มาตรการ 4 E ร่วมกับการพ่นหมอกควัน สามารถลดอุบัติการณ์ของการเกิดโรคไข้เลือดออกจนไม่เกิดไข้เลือดออก และสามารถลด ค่า HI,CI จนใกล้ศูนย์ได้
5.โครงการวิจัย การประเมินความสุขของกำลังพลกองพลทหารราบ นำเสนอแบบปากเปล่าในที่ประชุมวิชาการนานาชาติทางด้านอาชีวอนามัย (ICOH 2015) กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้
6.งานวิจัย เรื่อง การศึกษาเปรียบเทียบอัตราการเจ็บป่วยในห้วงของการฝึกของทหารกองประจำการที่ร้องขอเข้ารับราชการและไม่ได้ร้องขอเข้ารับราชการ
7.ความสัมพันธ์ของระดับการศึกษาก่อนเข้าศึกษาในหลักสูตรนักเรียนนายสิบ เหล่าทหารแพทย์ กับผลสัมฤทธิ์ของการศึกษาของ นักเรียนนายสิบ เหล่าทหารแพทย์ (อยู่ระหว่างการเขียนรายงานเพื่อตีพิมพ์)
8.การประเมินประสิทธิผลของการศึกษาหลักสูตรชั้นนายพัน เหล่าทหารแพทย์ศึกษาแบบอิเล็กทรอนิกส์
9. การพัฒนานวตกรรมเครื่องช่วยฝึก หุ่นเจาะระบายลมรั่วในโพรงเยื่อหุ้มปอด(อยู่ในระหว่างการพัฒนา)