กระตุ้นหัวใจพนักงานด้วย AED

สวัสดีครับทุกท่าน วันนี้หมอบีจะมาชวนคุยเรื่องการใช้เครื่องฟื้นคืนคลื่นหัวใจด้วยไฟฟ้า หรือที่เรียกกันง่ายๆว่า เครื่องกระตุ้นหัวใจด้วยไฟฟ้า เครื่อง เออีดี (AED) หรือภาษาบ้านๆก็เครื่องช๊อตหัวใจด้วยไฟฟ้าครับ เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนในบทความต่อจากนี้หมอบีจะเรียกเครื่องนี้ว่าเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจแล้วกันนะครับ ก่อนอื่นคงต้องออกตัวว่าหมอบีไม่ได้ชำนาญเรื่องนี้โดยตรงนะครับ

ก่อนจะอ่านรายละเอียดกันต่อแนะนำให้ไปกดไลค์ที่แฟนเพจ DoctorBee กันก่อนนะครับจะได้รู้จักกันครับ ^^



หลังจากที่กฎหมายใหม่ออกมาใน ประกาศคณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉิน เรื่องกำหนดให้การใช้เครื่องฟื้นคืนคลื่นไฟฟ้าหัวใจด้วยไฟฟ้าแบบอัตโนมัติเป็นการปฐมพยาบาล น่าจะทำให้สถานประกอบการหลายแห่งมีความต้องการที่จะมีเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจที่ว่านี้ไว้ในครอบครองครับ แต่นอกจากจะมีไว้ในครอบครองแล้วควรจะ


ต้องอบรมบุคลากรในโรงงานหลายๆคนให้สามารถใช้เครื่องนี้ได้อย่างมั่นใจด้วย

หลักสูตรที่อบรมควรใช้วิทยากรที่มี License ฺBLS Instructor และประกาศนียบัตรจากสมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทยโดยตรง และเน้นเนื้อหาการอบรมเกี่ยวกับการกู้ชีวิตและการใช้เครื่องกระตุ้นหัวใจด้วยไฟฟ้าให้ใช้เป็นจริงๆจะดีที่สุดครับ

ก่อนอื่นคงต้องกล่าวถึงประโยชน์ของเครื่องที่ว่านี้ก่อนครับว่าจำเป็นต้องมีหรือไม่ มีแล้วดีอย่างไร ซึ่งถ้าพิจารณาจากเหตุผลที่ สพฉ. ให้ไว้ว่า

"คนวัยทำงานในปัจจุบันเป็นโรคหัวใจมากขึ้น เครียดมากขึ้น และไม่ค่อยมีเวลาออกกำลังกาย"

จะเห็นได้ว่าทั้งคนวัยทำงานและคนทั่วไปมีโอกาสเกิดอาการโรคหัวใจกำเริบได้ทุกคนแต่โอกาสเกิดจะมากน้อยแตกต่างกันไปครับ

นอกจากภายในสถานประกอบการแล้ว ทาง สพฉ.ยังได้ดำเนินการติดตั้งเครื่องที่ว่านี้ในพื้นที่สาธารณะเช่น สนามบิน สถานีขนส่ง ห้างสรรพสินค้าด้วยครับ

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.prachathai.com/journal/2015/04/59057 นะครับ

ตัวดี D Dog จากเครื่องเออีดี หมายถึง การกระตุ้นหัวใจด้วยไฟฟ้าหรือที่เรียกว่า Defibrillation นั้นเป็น 1 ในกระบวนการที่สำคัญ 5 ขั้นตอนของการนำไปสู่การรอดชีวิตของพนักงานในสถานประกอบการ (5 chain survival) ซึ่งหมายความว่ายิ่งใช้เครื่องนี้ได้เร็ว (Early Defibrillation)โอกาสรอดชีวิตของพนักงานยิ่งสูงครับ ถ้ารอรถพยาบาลจากโรงพยาบาลไปรับที่โรงงาน หรือหิ้วพนักงานจากสถานประกอบการไปถึงโรงพยาบาลนาน 30-60 นาทีอย่างนี้ไม่ทันแล้วครับ



ภาพ Chain of Survival จาก www.radmoortraining.co.uk

เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจนี้สามารถลดอัตราการตายของพนักงานที่มีอาการโรคหัวใจในระหว่างการทำงานได้จริงครับ โดยอัตราการรอดชีวิตของพนักงานจะสูงขึ้นเกือบ 10 เท่าเมื่อเทียบกับการใช้มือปั๊มหัวใจอย่างเดียว โดยอัตราการรอดชีวิตของคนที่ถูกช่วยด้วยเครื่องนี้ทันเวลาจะสูงประมาณ 40 % ครับ

อ้างอิงจาก Weisfeldt ML, et al. Ventricular Tachyarrhythmias after Cardiac Arrest in Public versus at Home. New England Journal of Medicine, 2011; 364:313-321.


นอกจากจะมีเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจในสถานประกอบการแล้วที่หมอบีเป็นห่วงคือแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย หรือแม้แต่ตัวของพนักงานเองควรจะมีความรู้เกี่ยวกับเครื่องนี้พอสมควรเพื่อจะได้นำออกมาใช้อย่างมั่นใจเมื่อมีเหตุการณ์จำเป็น แน่นอนครับว่าผู้จำหน่ายเครื่องมือชิ้นนี้จะมีการจัดอบรมให้สถานประกอบการอยู่แล้ว

แต่หลายๆหลักสูตรจะไม่เน้นการใช้เครื่องมือนี้ครับ ไปเน้นเรื่องการปฐมพยาบาลซะงั้น

หมอบีแนะนำนะครับว่าสถานประกอบการควรกำหนดเรื่องหลักสูตรการอบรมและผู้เป็นวิทยากรการอบรมให้ชัดเจนดังนี้ครับว่าหลักสูตรการอบรมควรจะอบรมโดย วิทยากรแพทย์ที่มี License ฺBLS Instructor จึงจะสอนเป็นจริงๆครับ และต้องมีประกาศนียบัตรจากสมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทยโดยตรงเท่านั้นครับ และหลักสูตรที่อบรมควรเน้นเนื้อหาที่การใช้เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าด้วยหัวใจเครื่องนี้ และการช่วยฟื้นคืนชีพ เพื่อให้พนักงานได้ประโยชน์สูงสุดเมื่อจำเป็นครับ

เชิญทำความรู้จักกับหมอบีได้ที่นี่ครับ รู้จักกับ"DOCTOR BEE"


หรือติดต่อหมอบีเชิญที่นี่เลยครับ ติดต่อ "DOCTOR BEE"
Share This Post :
Tags :

ติดตาม "หมอบี" ทาง Facebook

บทความใหม่ล่าสุด

[2][recent][recent][บทความใหม่ล่าสุด]

Social Media

Get update news from our social media.