WELDING อันตรายจากการทำงานเชื่อมโลหะ
สวัสดีครับ วันนี้หมอบี จะมาให้คำแนะนำสำหรับผู้ที่ทำ งานเชื่อมโลหะ (Welding) แน่นอนครับว่านอกจากอันตรายจากแสงที่เกิดระหว่างการเชื่อมที่ต้องสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันให้ถูกต้องเหมาะสมแล้ว ยังมีอันตรายจาก ไอของโลหะหนัก (Metal Fume) ที่สามารถทำให้เกิดโรคได้หลายอย่างและต้องมีการเฝ้าระวังด้วยการตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยงในการทำงานอย่างเหมาะสมด้วยนะครับ
1.โรคหรือกลุ่มอาการในระยะเฉียบพลัน คือเกิดขึ้นในวันที่ทำงานหรือภายใน 1-2 วันหลังจากวันที่ทำงานสัมผัส ไอของโลหะนั้น เช่น ไข้ไอโลหะ (Metal Fume Fever) ที่เกิดจากการสัมผัสไอของโลหะระหว่างการเชื่อม ส่วนใหญ่มักมีอาการภายหลังจากการทำงานเชื่อมครั้งแรก หากทำงานซ้ำๆไประยะหนึ่งร่างกายจะเกิด การปรับตัว (Acclimatization) จนไม่มีอาการอีก แต่หากหยุดงานไประยะหนึ่งแล้วกลับมาทำอีกครั้งอาจเกิดอาการขึ้นมาอีกได้ครับ อาการที่สำคัญคืออาการไข้ และมีอาการปวดเมื่อยตามตัว และอาจมีอาการอึดอัดแน่นอกหายใจลำบากได้
2.โรคหรือกลุ่มอาการเรื้อรังจากการสะสมการสัมผัสสารเคมีต่อเนื่องระยะหนึ่ง หากมีส่วนประกอบทางเคมีที่จำเพาะในโลหะที่ใช้ในการเชื่อม มีหลายโรคที่น่าสนใจดังนี้ครับ
2.1 โรคปอดฝุ่นเหล็ก (Siderosis) เกิดจากการสัมผัสไอสารโลหะที่มีเหล็กผสม (Iron/Ferrous, Fe) โดยจะไปสะสมที่ปอด และอาจกระตุ้นให้เกิด พังผืดในปอดจากธาตุเหล็ก (Siderofibrosis) เกิดขึ้นได้หากสัมผัสในความเข้มข้นที่สูงครับ
ไม่สามารถแยกได้ว่าธาตุเหล็กที่ตรวจพบในเลือดมาจากการสัมผัสระหว่างการทำงาน หรือมาจากอาหารที่รับประทานในแต่ละวัน หรือจากการแตกตัวของเม็ดเลือดในบางโรค การเฝ้าระวังที่เหมาะสมจะเป็นการตรวจเอกซเรย์ปอดฟิล์มมาตรฐานร่วมกับการตรวจสมรรถภาพปอดจะดีกว่าครับ
นอกจากเหล็กแล้วยังมีโลหะหนักที่ไม่ควรตรวจจากสิ่งคัดหลั่งในร่างกายแม้จะมีส่วนผสมในโลหะที่ทำการเชื่อม เช่น สังกะสี (Zinc, Zn) ทองแดง (Copper, Cu)
2.2 โรคปอดฝุ่นอลูมิเนียม (Aluminosis) เป็นอีกโรคที่ควรทำการเฝ้าระวังหากทำงานเชื่อมโลหะ/อัลลอยด์ที่มีส่วนประกอบของอลูมิเนียม อาจตรวจระดับของอลูมิเนียมในปัสสาวะเพื่อเฝ้าระวังการสัมผัส (Biomarker of Exposure) และหากมีผลตรวจที่ผิดปกติควรพิจารณาตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (HRCT) เพิ่มเติมครับ
2.3 โรคมะเร็งที่เกิดจากไอโลหะ ส่วนประกอบที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งในร่างกายคนเรานั้น ได้แก่โครเมียม (Chromium VI) และนิกเกิล (Nickle) โดยหากมีส่วนประกอบมากเกินกว่า 5% ควรจัดให้มีการตรวจเฝ้าระวังการสัมผัส (Biomarker of Exposure) ที่เหมาะสมด้วยนะครับ อย่ารอให้กลายเป็นโรคมะเร็งที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตไปเสียก่อน การสัมผัสสารก่อมะเร็งนั้นแม้ว่าสัมผัสเพียงเล็กน้อยก็มีโอกาสที่จะเกิดโรคขึ้นมาได้ครับ
จะเห็นได้ว่าไอจากการเชื่อมโลหะนั้นเป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจอย่างมาก การตรวจวัดสภาพแวดล้อมในการทำงาน ควรคำนึงถึง ส่วนประกอบของโลหะที่ใช้ในการเชื่อม เป็นสำคัญนะครับ
นอกจากไอของโลหะแล้วควันจากการเชื่อมอาจมีส่วนประกอบของ SOx NOx CO และ CO2 ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพได้เช่นเดียวกัน คนที่มีโรคระบบทางเดินหายใจชนิดต่างๆควรหลีกเลี่ยงการทำงานเชื่อมโลหะเพราะอาจทำให้สุขภาพแย่ลงได้
โดยสรุป หมอบี แนะนำว่า รายการตรวจสุขภาพที่จำเป็นสำหรับการทำงานเชื่อมโลหะ ได้แก่ การตรวจสมรรถภาพปอด (เอาผลมาเทียบกับเบสไลน์ด้วยนะครับ) การตรวจเอกซเรย์ปอด และการเลือกตรวจเฝ้าระวังการสัมผัส (พิจารณาจากโลหะที่ใช้ในการเชื่อม โดยเฉพาะ Aluminium, Chromium, Nickle ผลตรวจวัดสิ่งแวดล้อมในการทำงาน และผลการประเมินความเสี่ยงทางสุขภาพ ของ แพทย์อาชีวเวชศาสตร์ ประกอบการกำหนดรายการตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยง) บางรายการอาจต้องใช้ค่ามาตรฐานของยุโรปเนื่องจากไม่มีในมาตรฐานการตรวจของอเมริกา (ACGIH 2017, NIOSH, OSHA) และบางรายการอาจหาสถานที่รับตรวจได้ยาก ตรวจสุขภาพแล้วอย่าลืม วิเคราะห์ผลตรวจสุขภาพให้ได้ประโยชน์สูงสุดถึงตัวพนักงานด้วยนะครับ แล้วก็สุดท้ายต้องไม่ลืม ปรึกษานักสุขศาสตร์อุตสาหกรรมในการปรับสภาพแวดล้อมการทำงานให้ดีและสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันที่ถูกต้องเหมาะสมระหว่างการปฏิบัติงานด้วยนะครับ
แนะนำให้อ่านบทความอื่นๆที่เกี่ยวข้องจากเวป www.doctor-bee.net เพิ่มเติมนะครับ สำหรับวันนี้สวัสดีครับ
ภาพการสูดไอโลหะหนักระหว่างการทำงานเชื่อม
จาก https://www.youtube.com/watch?v=CoHVA7nr82A
โรคที่เกิดจากไอของโลหะนั้นเกิดได้หลายลักษณะ แบ่งออกเป็น1.โรคหรือกลุ่มอาการในระยะเฉียบพลัน คือเกิดขึ้นในวันที่ทำงานหรือภายใน 1-2 วันหลังจากวันที่ทำงานสัมผัส ไอของโลหะนั้น เช่น ไข้ไอโลหะ (Metal Fume Fever) ที่เกิดจากการสัมผัสไอของโลหะระหว่างการเชื่อม ส่วนใหญ่มักมีอาการภายหลังจากการทำงานเชื่อมครั้งแรก หากทำงานซ้ำๆไประยะหนึ่งร่างกายจะเกิด การปรับตัว (Acclimatization) จนไม่มีอาการอีก แต่หากหยุดงานไประยะหนึ่งแล้วกลับมาทำอีกครั้งอาจเกิดอาการขึ้นมาอีกได้ครับ อาการที่สำคัญคืออาการไข้ และมีอาการปวดเมื่อยตามตัว และอาจมีอาการอึดอัดแน่นอกหายใจลำบากได้
2.โรคหรือกลุ่มอาการเรื้อรังจากการสะสมการสัมผัสสารเคมีต่อเนื่องระยะหนึ่ง หากมีส่วนประกอบทางเคมีที่จำเพาะในโลหะที่ใช้ในการเชื่อม มีหลายโรคที่น่าสนใจดังนี้ครับ
2.1 โรคปอดฝุ่นเหล็ก (Siderosis) เกิดจากการสัมผัสไอสารโลหะที่มีเหล็กผสม (Iron/Ferrous, Fe) โดยจะไปสะสมที่ปอด และอาจกระตุ้นให้เกิด พังผืดในปอดจากธาตุเหล็ก (Siderofibrosis) เกิดขึ้นได้หากสัมผัสในความเข้มข้นที่สูงครับ
การตรวจหาธาตุเหล็กในเลือดนั้นไม่มีประโยชน์ในการเฝ้าระวังแต่อย่างใดครับ
เนื่องจากในร่างกายของคนเรามีส่วนประกอบของธาตุเหล็กอยู่แล้ว
ไม่สามารถแยกได้ว่าธาตุเหล็กที่ตรวจพบในเลือดมาจากการสัมผัสระหว่างการทำงาน หรือมาจากอาหารที่รับประทานในแต่ละวัน หรือจากการแตกตัวของเม็ดเลือดในบางโรค การเฝ้าระวังที่เหมาะสมจะเป็นการตรวจเอกซเรย์ปอดฟิล์มมาตรฐานร่วมกับการตรวจสมรรถภาพปอดจะดีกว่าครับ
ภาพเอกซเรย์ปอดผิดปกติจากการทำงานเชื่อมโลหะ และมีความจุปอดลดลงเมื่อตรวจสมรรถภาพปอด จาก curseonarm.net
2.2 โรคปอดฝุ่นอลูมิเนียม (Aluminosis) เป็นอีกโรคที่ควรทำการเฝ้าระวังหากทำงานเชื่อมโลหะ/อัลลอยด์ที่มีส่วนประกอบของอลูมิเนียม อาจตรวจระดับของอลูมิเนียมในปัสสาวะเพื่อเฝ้าระวังการสัมผัส (Biomarker of Exposure) และหากมีผลตรวจที่ผิดปกติควรพิจารณาตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (HRCT) เพิ่มเติมครับ
2.3 โรคมะเร็งที่เกิดจากไอโลหะ ส่วนประกอบที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งในร่างกายคนเรานั้น ได้แก่โครเมียม (Chromium VI) และนิกเกิล (Nickle) โดยหากมีส่วนประกอบมากเกินกว่า 5% ควรจัดให้มีการตรวจเฝ้าระวังการสัมผัส (Biomarker of Exposure) ที่เหมาะสมด้วยนะครับ อย่ารอให้กลายเป็นโรคมะเร็งที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตไปเสียก่อน การสัมผัสสารก่อมะเร็งนั้นแม้ว่าสัมผัสเพียงเล็กน้อยก็มีโอกาสที่จะเกิดโรคขึ้นมาได้ครับ
จะเห็นได้ว่าไอจากการเชื่อมโลหะนั้นเป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจอย่างมาก การตรวจวัดสภาพแวดล้อมในการทำงาน ควรคำนึงถึง ส่วนประกอบของโลหะที่ใช้ในการเชื่อม เป็นสำคัญนะครับ
หากไม่ทราบข้อมูลส่วนประกอบของโลหะที่ใช้อาจพิจารณาตรวจสภาพแวดล้อมในการทำงานให้ครอบคลุมไว้ก่อนครับ
นอกจากไอของโลหะแล้วควันจากการเชื่อมอาจมีส่วนประกอบของ SOx NOx CO และ CO2 ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพได้เช่นเดียวกัน คนที่มีโรคระบบทางเดินหายใจชนิดต่างๆควรหลีกเลี่ยงการทำงานเชื่อมโลหะเพราะอาจทำให้สุขภาพแย่ลงได้
โดยสรุป หมอบี แนะนำว่า รายการตรวจสุขภาพที่จำเป็นสำหรับการทำงานเชื่อมโลหะ ได้แก่ การตรวจสมรรถภาพปอด (เอาผลมาเทียบกับเบสไลน์ด้วยนะครับ) การตรวจเอกซเรย์ปอด และการเลือกตรวจเฝ้าระวังการสัมผัส (พิจารณาจากโลหะที่ใช้ในการเชื่อม โดยเฉพาะ Aluminium, Chromium, Nickle ผลตรวจวัดสิ่งแวดล้อมในการทำงาน และผลการประเมินความเสี่ยงทางสุขภาพ ของ แพทย์อาชีวเวชศาสตร์ ประกอบการกำหนดรายการตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยง) บางรายการอาจต้องใช้ค่ามาตรฐานของยุโรปเนื่องจากไม่มีในมาตรฐานการตรวจของอเมริกา (ACGIH 2017, NIOSH, OSHA) และบางรายการอาจหาสถานที่รับตรวจได้ยาก ตรวจสุขภาพแล้วอย่าลืม วิเคราะห์ผลตรวจสุขภาพให้ได้ประโยชน์สูงสุดถึงตัวพนักงานด้วยนะครับ แล้วก็สุดท้ายต้องไม่ลืม ปรึกษานักสุขศาสตร์อุตสาหกรรมในการปรับสภาพแวดล้อมการทำงานให้ดีและสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันที่ถูกต้องเหมาะสมระหว่างการปฏิบัติงานด้วยนะครับ
แนะนำให้อ่านบทความอื่นๆที่เกี่ยวข้องจากเวป www.doctor-bee.net เพิ่มเติมนะครับ สำหรับวันนี้สวัสดีครับ