EHIA ในการต่อเติมสถานประกอบการ BST
สวัสดีครับ วันนี้หมอบีจะเล่าเกี่ยวกับการร่วมให้ข้อคิดเห็นของชุมชนเกี่ยวกับการต่อเติม ปรับเพิ่มกระบวนการผลิต หรือขยับขยายขนาดของสถานประกอบการ ถ้าสถานประกอบการต้องการให้ชุมชนโดยรอบเป็นมิตรในระยะยาวควรจะดำเนินการในจุดนี้ให้รัดกุมครับ คงไม่ดีแน่ถ้าเริ่มทำการต่อเติม ขยายขนาดไปบางส่วนแล้วคนในชุมชนโดยรอบรวมกันประท้วงไม่ให้ดำเนินการต่อ หมอบีสนับสนุนให้คุยกันด้วยเหตุผลที่ถูกต้องตามหลักวิชาการและตกลงกันอย่างเหมาะสมไม่เอนเอียงนะครับ
วันที่ 7 กรกฎาคม 2558 ที่ผ่านมา หมอบีได้ต้อนรับทางทีมสำรวจข้อคิดเห็นในการต่อเติมโรงงาน BST เป็นโรงงานเดียวกันกับที่เกิดการระเบิดรุนแรงไปเมื่อ 3-4 ปีก่อนถ้ายังจำกันได้นะครับ เรื่องมีอยู่ว่า
โรงงาน BST ต้องการรับฟังข้อคิดเห็นจากชุมชนและหน่วยงานราชการเกี่ยวกับการต่อเติมโรงงานในครั้งนี้พื้นที่ประมาณ 150 ตรม.เท่านั้น แต่โรงงานก็มีข้อห่วงกังวลว่าจะมีปัญหากับชุมชนเพื่อนบ้านในเวลาต่อมาครับ ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าชื่นชมมากนะครับเพราะแตกต่างจากโรงงานส่วนใหญ่ที่จะรอให้เกิดปัญหากับชุมชนก่อนแล้วค่อยแก้ไข หลายๆครั้งการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นแล้วเป็นไปอย่างยากลำบากและรู้สึกได้ถึงความไม่เป็นมิตรระหว่างชุมชนและสถานประกอบการ
ประเด็นหลักที่ต้องเสนอให้ได้ของโรงพยาบาลระยองของหมอบีคงอยู่ที่ประเด็นสุขภาพของพนักงานและชุมชนที่จะต้องได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม
ปัญหาสุขภาพหลักของโรงงานปิโตรเคมีพวกนี้คงเป็นเรื่องของ สารเคมีที่เป็นสารก่อมะเร็งอย่าง 1,3-BUTADIENE ซึ่งในระยะหลังนั้นจะดำเนินการส่วนใหญ่เป็นระบบปิด คือสารเคมีอยู่ในท่อลำเลียงโอกาสที่พนักงานจะสัมผัสน้อยมาก ความเสี่ยงเรื่องนี้แทบจะไม่มี ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ดีครับว่ามั้ย
แต่ปัญหาที่พบในโรงงานปิโตรเคมีพวกนี้ส่วนใหญ่เมื่อเกิดปัญหาสารเคมีรั่วไหล หรือระเบิดรุนแรงเราจะพบว่าไม่ค่อยมีแผนรองรับการดูแลสุขภาพชุมชน ซ้อมแผนรับอุบัติภัยสารเคมีกันแต่ภายในโรงงาน ถ้าเป็นแบบนี้พอเกิดเหตุขึ้นมาชาวบ้านรอบรั้วโรงงานจะไปพึ่งใครครับ เลยบอกให้ทีมสำรวจเตรียมการเรื่องนี้ไว้ด้วยครับ
ตัวพนักงานที่เข้าไปสัมผัสสารเคมีโดยตรงก็มักไม่ค่อยได้ส่งมาตรวจสุขภาพทันที กว่าจะส่งมาตรวจรอเป็นสัปดาห์ ทั้งที่โรงงานก็รู้ว่าสารเคมีบางอย่างจะตรวจพบต้องเก็บตัวอย่าง เลือดหรือปัสสาวะทันทีหลังสัมผัส ตรวจช้าแบบนี้ยังไงก็ไม่พบสารเคมีในร่างกายจริงมั้ยครับ
การให้ข้อมูลข่าวสารเมื่อเกิดอุบัติภัยสารเคมีก็เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่สำคัญครับ โรงงานส่วนใหญ่จะปิดข่าวไม่ให้ข้อมูลเพราะกลัวอะไรหลายอย่าง แต่หารู้ไม่ว่าข่าวลือและข่าวลวงไปเร็วกว่าไปไกลกว่า สร้างปัญหาให้กับชุมชนยิ่งบานปลายออกไปมากนัก ที่ต้องบอกชุมชนในทันทีที่เกิดเหตุคือจะติดตามข้อมูลความคืบหน้าจากโรงงานได้ที่ไหนเพื่อให้ชาวบ้านในชุมชนไม่เกิดการสับสนไปเชื่อข่าวลวงครับ
อีกประเด็นของการต่อเติมคือเมื่อมีเครื่องจักรมากขึ้นเสียงโดยรวมก็จะดังขึ้น แม้กฎหมายจะบอกว่าถ้าไม่เกิน 90 เดวิเบลเอ สามารถให้ทำงานได้แต่ ถ้าเสียงดังเกินกว่า 85 เดซิเบลเอสำหรับการทำงาน 8 ชั่วโมงสถานประกอบการต้องทำโครงการอนุรักษ์การได้ยินให้กับพนักงานที่สัมผัส
ประเด็นนี้สถานประกอบการมักทำผิดกฎหมายเรื่อยๆ อาจเป็นเพราะไม่รู้กฎหมาย หรือรู้กฎหมายแต่ไม่รู้ว่าจะทำตามกฎหมายอย่างไร ส่วนที่ผิดประจำก็คือกฎหมายกำหนดให้แปลผลตรวจการได้ยินเทียบกับข้อมูลพื้นฐาน แต่สถานประกอบการมักให้บริษัทตรวจสุขภาพแปลแบบครั้งเดียวมาให้
สถานประกอบการบางแห่งอาจให้หมออีกท่านมาแปลอีกครั้งแต่ก็ไม่ได้ทำการตรวจสอบว่าคุณหมอแปลผลเทียบกับข้อมูลพื้นฐานได้ถูกต้องเหมาะสมตามที่เขียนไว้ในกฎหมายหรือไม่
แถมตัวกฎหมายเองก็คัดลอกมาจาก NIOSH แบบลอกมาไม่ครบ
อีกประเด็นที่น่าสนใจของโรงงาน BST แห่งนี้คือเมื่อมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นในช่วง 3-4 ปีก่อน ผลสรุปการสอบสวนเหตุการณ์นั้นระบุว่าเกิดจากอะไร เนื่องจากส่วนที่ต่อเติมนั้นอยู่ใกล้กับส่วนที่ระเบิดครั้งก่อนพอสมควร
สุดท้ายหมอบีคุยกับทีมสำรวจที่ประกอบไปด้วยทีมที่ปรึกษาเฉพาะกิจ และตัวแทนของสถานประกอบการว่ารายละเอียดที่พูดคุยกันครั้งนี้ควรจะเขียนสรุปให้ครบถ้วนทุกประเด็นเพื่อให้เป็นประโยชน์ในการดูแลสุขภาพของพนักงาน และชุมชนโดยรอบสถานประกอบการ ซึ่งทางโรงพยาบาลระยองของหมอบีจะคอยตามดูให้เป็นไปเช่นนั้น ทางทีมที่ปรึกษาหรือทางโรงงานอาจจะคิดว่าต่อไปไม่มาถามโรงพยาบาลระยองอีกแล้วก็ได้นะครับ ขอบคุณที่อ่านกันจนจบครับ ^^
วันที่ 7 กรกฎาคม 2558 ที่ผ่านมา หมอบีได้ต้อนรับทางทีมสำรวจข้อคิดเห็นในการต่อเติมโรงงาน BST เป็นโรงงานเดียวกันกับที่เกิดการระเบิดรุนแรงไปเมื่อ 3-4 ปีก่อนถ้ายังจำกันได้นะครับ เรื่องมีอยู่ว่า
โรงงาน BST ต้องการรับฟังข้อคิดเห็นจากชุมชนและหน่วยงานราชการเกี่ยวกับการต่อเติมโรงงานในครั้งนี้พื้นที่ประมาณ 150 ตรม.เท่านั้น แต่โรงงานก็มีข้อห่วงกังวลว่าจะมีปัญหากับชุมชนเพื่อนบ้านในเวลาต่อมาครับ ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าชื่นชมมากนะครับเพราะแตกต่างจากโรงงานส่วนใหญ่ที่จะรอให้เกิดปัญหากับชุมชนก่อนแล้วค่อยแก้ไข หลายๆครั้งการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นแล้วเป็นไปอย่างยากลำบากและรู้สึกได้ถึงความไม่เป็นมิตรระหว่างชุมชนและสถานประกอบการ
ประเด็นหลักที่ต้องเสนอให้ได้ของโรงพยาบาลระยองของหมอบีคงอยู่ที่ประเด็นสุขภาพของพนักงานและชุมชนที่จะต้องได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม
ปัญหาสุขภาพหลักของโรงงานปิโตรเคมีพวกนี้คงเป็นเรื่องของ สารเคมีที่เป็นสารก่อมะเร็งอย่าง 1,3-BUTADIENE ซึ่งในระยะหลังนั้นจะดำเนินการส่วนใหญ่เป็นระบบปิด คือสารเคมีอยู่ในท่อลำเลียงโอกาสที่พนักงานจะสัมผัสน้อยมาก ความเสี่ยงเรื่องนี้แทบจะไม่มี ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ดีครับว่ามั้ย
แต่ปัญหาที่พบในโรงงานปิโตรเคมีพวกนี้ส่วนใหญ่เมื่อเกิดปัญหาสารเคมีรั่วไหล หรือระเบิดรุนแรงเราจะพบว่าไม่ค่อยมีแผนรองรับการดูแลสุขภาพชุมชน ซ้อมแผนรับอุบัติภัยสารเคมีกันแต่ภายในโรงงาน ถ้าเป็นแบบนี้พอเกิดเหตุขึ้นมาชาวบ้านรอบรั้วโรงงานจะไปพึ่งใครครับ เลยบอกให้ทีมสำรวจเตรียมการเรื่องนี้ไว้ด้วยครับ
ตัวพนักงานที่เข้าไปสัมผัสสารเคมีโดยตรงก็มักไม่ค่อยได้ส่งมาตรวจสุขภาพทันที กว่าจะส่งมาตรวจรอเป็นสัปดาห์ ทั้งที่โรงงานก็รู้ว่าสารเคมีบางอย่างจะตรวจพบต้องเก็บตัวอย่าง เลือดหรือปัสสาวะทันทีหลังสัมผัส ตรวจช้าแบบนี้ยังไงก็ไม่พบสารเคมีในร่างกายจริงมั้ยครับ
ภาพเหตุการณ์ระเบิดจาก www.thairath.co.th
อีกประเด็นของการต่อเติมคือเมื่อมีเครื่องจักรมากขึ้นเสียงโดยรวมก็จะดังขึ้น แม้กฎหมายจะบอกว่าถ้าไม่เกิน 90 เดวิเบลเอ สามารถให้ทำงานได้แต่ ถ้าเสียงดังเกินกว่า 85 เดซิเบลเอสำหรับการทำงาน 8 ชั่วโมงสถานประกอบการต้องทำโครงการอนุรักษ์การได้ยินให้กับพนักงานที่สัมผัส
ประเด็นนี้สถานประกอบการมักทำผิดกฎหมายเรื่อยๆ อาจเป็นเพราะไม่รู้กฎหมาย หรือรู้กฎหมายแต่ไม่รู้ว่าจะทำตามกฎหมายอย่างไร ส่วนที่ผิดประจำก็คือกฎหมายกำหนดให้แปลผลตรวจการได้ยินเทียบกับข้อมูลพื้นฐาน แต่สถานประกอบการมักให้บริษัทตรวจสุขภาพแปลแบบครั้งเดียวมาให้
สถานประกอบการบางแห่งอาจให้หมออีกท่านมาแปลอีกครั้งแต่ก็ไม่ได้ทำการตรวจสอบว่าคุณหมอแปลผลเทียบกับข้อมูลพื้นฐานได้ถูกต้องเหมาะสมตามที่เขียนไว้ในกฎหมายหรือไม่
แถมตัวกฎหมายเองก็คัดลอกมาจาก NIOSH แบบลอกมาไม่ครบ
อีกประเด็นที่น่าสนใจของโรงงาน BST แห่งนี้คือเมื่อมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นในช่วง 3-4 ปีก่อน ผลสรุปการสอบสวนเหตุการณ์นั้นระบุว่าเกิดจากอะไร เนื่องจากส่วนที่ต่อเติมนั้นอยู่ใกล้กับส่วนที่ระเบิดครั้งก่อนพอสมควร
สุดท้ายหมอบีคุยกับทีมสำรวจที่ประกอบไปด้วยทีมที่ปรึกษาเฉพาะกิจ และตัวแทนของสถานประกอบการว่ารายละเอียดที่พูดคุยกันครั้งนี้ควรจะเขียนสรุปให้ครบถ้วนทุกประเด็นเพื่อให้เป็นประโยชน์ในการดูแลสุขภาพของพนักงาน และชุมชนโดยรอบสถานประกอบการ ซึ่งทางโรงพยาบาลระยองของหมอบีจะคอยตามดูให้เป็นไปเช่นนั้น ทางทีมที่ปรึกษาหรือทางโรงงานอาจจะคิดว่าต่อไปไม่มาถามโรงพยาบาลระยองอีกแล้วก็ได้นะครับ ขอบคุณที่อ่านกันจนจบครับ ^^