HCP กฎหมายที่สถานประกอบการมักทำผิด
สวัสดีครับ วันนี้หมอบีจะมาชวนคุยเรื่องประเด็นที่สถานประกอบการมักทำผิดข้อกฎหมายเกี่ยวกับโครงการอนุรักษ์การได้ยิน Hearing Conservation Program, HCP ซึ่งการที่สถานประกอบการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายฉบับนี้ทำให้พนักงานที่ทำงานสัมผัสเสียงดังเสียโอกาสในการป้องกันตนเองจากโรคหูเสื่อมจากการทำงานไป เมื่อเวลาผ่านไปการได้ยินของพนักงานก็จะแย่ลงเรื่อยๆทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพเนื่องจากมีปัญหาการพูดคุยสื่อสารกับเพื่อนร่วมงาน และถูกเลิกจ้างในที่สุด โดยที่ตัวพนักงานเองอาจไม่รู้ด้วยซ้ำว่าที่เป็นทั้งหมดเกิดจากการทำงาน
กฎหมาย HCP หรือ ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำโครงการอนุรักษ์การได้ยินในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2553 นั่นเองครับ กฎหมายฉบับนี้เน้นที่การดูแลสุขภาพพนักงานที่ทำงานกับเสียงดัง ให้สถานประกอบการออกนโยบายดูแลพนักงานที่ทำงานกับเสียงดัง สถานประกอบการจะต้องกำหนดตัวผู้รับผิดชอบในรายกิจกรรมปลีกย่อย ตรวจวัดเสียงดังในพื้นที่ทำงาน ตรวจการได้ยินให้พนักงาน และนำข้อมูลผลตรวจการได้ยินมาแปลผลแบบเทียบกับข้อมูลพื้นฐาน วิเคราะห์ปัญหาเรื่องเสียงดังและการได้ยินในที่ทำงาน นำไปสู่การแก้ไขควบคุมความเสี่ยงจึงจะสมบูรณ์
สถานประกอบการบางแห่งอาจเข้าใจผิดว่า กฎหมายให้พนักงานที่สัมผัสเสียงดังเกินกว่า 85 เดซิเบลเอ เท่านั้นที่ต้องเข้าโครงการ แต่ พนักงานที่ทำงานสัมผัสเสียงดังเกือบ 85 เดซิเบลเอนั้นแต่หากทำงานในพื้นที่นานเกินกว่า 8 ชั่วโมง เช่นอาจมีการทำโอทีบางครั้งหรือเป็นประจำ ก็มีโอกาสที่จะเป็นอันตรายจากเสียงดังได้เช่นเดียวกัน จึงควรนำพนักงานกลุ่มเสี่ยงนี้เข้าโครงการด้วย
การตรวจวัดเสียงดังในสิ่งแวดล้อมที่ทำงานควรวัดเสียงให้เป็นตัวแทนของเสียงดังในที่ทำงานได้จริง บ่อยครั้งที่พนักงานแจ้งว่าตรวจวัดเสียงดังในวันที่กระบวนการผลิตหยุดพัก หรือวันที่เดินกระบวนการผลิตน้อยกว่าปกติ เช่นใช้งานเครื่องจักรเพียงเครื่องเดียวจากที่มีอยู่หลายๆเครื่อง ทำให้ผลการตรวจวัดระดับเสียงต่ำกว่าความจริง และพนักงานเสียโอกาสในการเข้าโครงการ HCP เพื่อการป้องกันโรคหูเสื่อม
และแท้จริงแล้วกฎหมายใช้คำว่า "ระดับเสียงที่ลูกจ้างได้รับ" ซึ่งหมายถึงการวัดด้วย "Noise Dosi Meter" แต่สถานประกอบการบางแห่งใช้การวัดแบบพื้นที่โดยไม่คำนึงถึงข้อจำกัดของวิธีการตรวจวัด
การแปลผลการได้ยินแบบเทียบกับข้อมูลพื้นฐานเป็นอีกประเด็นที่เขียนไว้ชัดเจนในข้อกฎหมายนี้แต่มีสถานประกอบการน้อยรายนักที่นำไปปฏิบัติ และยิ่งมีน้อยรายเข้าไปอีกที่ปฎิบัติได้ถูกต้องจริงๆ สถานประกอบการส่วนใหญ่จะทำผิดพลาดดังนี้
การตรวจยืนยันความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น พนักงานที่มีการเปลี่ยนแปลงการได้ยินจากการแปลแบบเทียบกับข้อมูลพื้นฐาน กฎหมาย HCP ระบุให้ส่งตรวจการได้ยินซ้ำภายใน 30 วัน เมื่อการแปลผลการตรวจการได้ยินที่ผิดก็จะนำไปสู่การดำเนินการส่งตรวจพนักงานที่มีความผิดปกติซ้ำผิดกลุ่ม คนที่ควรตรวจซ้ำไม่ได้ตรวจ คนที่ไม่ต้องตรวจซ้ำกลับได้ตรวจ และทำให้พนักงานกลุ่มเสี่ยงตัวจริงไม่ได้รับการดูแลป้องกันอย่างอื่นต่อไป
การส่งพบแพทย์อาชีวเวชศาสตร์ นอกเหนือจาก การตรวจซ้ำภายใน 30 วัน แล้ว พนักงานที่ผลการได้ยินผิดปกติควรได้รับการส่งต่อเข้ารับการวินิจฉัยจากแพทย์อาชีวเวชศาสตร์ว่า เป็นโรคจากการทำงานจริงหรือไม่? (Work related Assessment) บ่อยครั้งที่ความผิดปกติทางการได้ยินที่ตรวจพบอาจเป็นจากสาเหตุอื่นนอกเหนือจากการทำงาน เช่น อายุของพนักงานที่มากขึ้น โรคประจำตัว ยาที่เคยรับประทาน หรืออุบัติเหตุต่างๆ
การส่งพบแพทย์อาชีวเวชศาสตร์ควรเตรียมข้อมูลให้ครบถ้วนอันได้แก่
และควรมีข้อมูลอื่นๆที่สถานประกอบการเห็นว่าอาจมีความสำคัญจากทางสถานประกอบการแนบมาด้วยเนื่องจากบ่อยครั้งที่ข้อมูลจากตัวพนักงานไม่ตรงกับข้อมูลจากสถานประกอบการ
เป็นอย่างไรบ้างครับ หมอบีคิดว่าการทำโครงการอนุรักษ์การได้ยินอาจเริ่มต้นไม่ง่ายนัก แต่เชื่อว่าไม่ยากเกินไปที่จะทำให้ได้ตามกฎหมายหรือแม้แต่ทำให้ดียิ่งกว่าที่เขียนไว้ในกฎหมาย ถ้าสถานประกอบการมีความตั้งใจจริงเพื่อประโยชน์ของพนักงานทุกคนที่สัมผัสเสียงดังครับ
กฎหมาย HCP หรือ ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำโครงการอนุรักษ์การได้ยินในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2553 นั่นเองครับ กฎหมายฉบับนี้เน้นที่การดูแลสุขภาพพนักงานที่ทำงานกับเสียงดัง ให้สถานประกอบการออกนโยบายดูแลพนักงานที่ทำงานกับเสียงดัง สถานประกอบการจะต้องกำหนดตัวผู้รับผิดชอบในรายกิจกรรมปลีกย่อย ตรวจวัดเสียงดังในพื้นที่ทำงาน ตรวจการได้ยินให้พนักงาน และนำข้อมูลผลตรวจการได้ยินมาแปลผลแบบเทียบกับข้อมูลพื้นฐาน วิเคราะห์ปัญหาเรื่องเสียงดังและการได้ยินในที่ทำงาน นำไปสู่การแก้ไขควบคุมความเสี่ยงจึงจะสมบูรณ์
สถานประกอบการบางแห่งอาจเข้าใจผิดว่า กฎหมายให้พนักงานที่สัมผัสเสียงดังเกินกว่า 85 เดซิเบลเอ เท่านั้นที่ต้องเข้าโครงการ แต่ พนักงานที่ทำงานสัมผัสเสียงดังเกือบ 85 เดซิเบลเอนั้นแต่หากทำงานในพื้นที่นานเกินกว่า 8 ชั่วโมง เช่นอาจมีการทำโอทีบางครั้งหรือเป็นประจำ ก็มีโอกาสที่จะเป็นอันตรายจากเสียงดังได้เช่นเดียวกัน จึงควรนำพนักงานกลุ่มเสี่ยงนี้เข้าโครงการด้วย
การตรวจวัดเสียงดังในสิ่งแวดล้อมที่ทำงานควรวัดเสียงให้เป็นตัวแทนของเสียงดังในที่ทำงานได้จริง บ่อยครั้งที่พนักงานแจ้งว่าตรวจวัดเสียงดังในวันที่กระบวนการผลิตหยุดพัก หรือวันที่เดินกระบวนการผลิตน้อยกว่าปกติ เช่นใช้งานเครื่องจักรเพียงเครื่องเดียวจากที่มีอยู่หลายๆเครื่อง ทำให้ผลการตรวจวัดระดับเสียงต่ำกว่าความจริง และพนักงานเสียโอกาสในการเข้าโครงการ HCP เพื่อการป้องกันโรคหูเสื่อม
และแท้จริงแล้วกฎหมายใช้คำว่า "ระดับเสียงที่ลูกจ้างได้รับ" ซึ่งหมายถึงการวัดด้วย "Noise Dosi Meter" แต่สถานประกอบการบางแห่งใช้การวัดแบบพื้นที่โดยไม่คำนึงถึงข้อจำกัดของวิธีการตรวจวัด
ภาพผลการตรวจวัดเสียงดัง จาก www.softnoise.com
การแปลผลการได้ยินแบบเทียบกับข้อมูลพื้นฐานเป็นอีกประเด็นที่เขียนไว้ชัดเจนในข้อกฎหมายนี้แต่มีสถานประกอบการน้อยรายนักที่นำไปปฏิบัติ และยิ่งมีน้อยรายเข้าไปอีกที่ปฎิบัติได้ถูกต้องจริงๆ สถานประกอบการส่วนใหญ่จะทำผิดพลาดดังนี้
- สถานประกอบการส่วนใหญ่จะใช้ข้อมูล การแปลผลตรวจการได้ยินจากบริษัทตรวจสุขภาพที่ไม่ตรงกับที่กฎหมายกำหนดไว้ ซึ่งมักจะเป็นการแปลผลการได้ยินแบบครั้งเดียวคือมีผลการได้ยินของปีปัจจุบันแค่ครั้งเดียวก็แปลผลได้ ทั้งนี้สถานประกอบการมักจะพลาดโดยเชื่อใจบริษัทตรวจสุขภาพมากเกินไปจน ไม่ได้ตรวจสอบว่าการแปลผลการตรวจนั้นถูกต้องเหมาะสมตามหลักวิชาการและข้อกฎหมายหรือไม่
การตรวจยืนยันความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น พนักงานที่มีการเปลี่ยนแปลงการได้ยินจากการแปลแบบเทียบกับข้อมูลพื้นฐาน กฎหมาย HCP ระบุให้ส่งตรวจการได้ยินซ้ำภายใน 30 วัน เมื่อการแปลผลการตรวจการได้ยินที่ผิดก็จะนำไปสู่การดำเนินการส่งตรวจพนักงานที่มีความผิดปกติซ้ำผิดกลุ่ม คนที่ควรตรวจซ้ำไม่ได้ตรวจ คนที่ไม่ต้องตรวจซ้ำกลับได้ตรวจ และทำให้พนักงานกลุ่มเสี่ยงตัวจริงไม่ได้รับการดูแลป้องกันอย่างอื่นต่อไป
การส่งพบแพทย์อาชีวเวชศาสตร์ นอกเหนือจาก การตรวจซ้ำภายใน 30 วัน แล้ว พนักงานที่ผลการได้ยินผิดปกติควรได้รับการส่งต่อเข้ารับการวินิจฉัยจากแพทย์อาชีวเวชศาสตร์ว่า เป็นโรคจากการทำงานจริงหรือไม่? (Work related Assessment) บ่อยครั้งที่ความผิดปกติทางการได้ยินที่ตรวจพบอาจเป็นจากสาเหตุอื่นนอกเหนือจากการทำงาน เช่น อายุของพนักงานที่มากขึ้น โรคประจำตัว ยาที่เคยรับประทาน หรืออุบัติเหตุต่างๆ
การส่งพบแพทย์อาชีวเวชศาสตร์ควรเตรียมข้อมูลให้ครบถ้วนอันได้แก่
- ตัวของพนักงานเอง ที่อาจต้องเข้ารับการ ตรวจซ้ำต้องพักการได้ยินอย่างน้อย 12-14 ชั่วโมง
- ประวัติทางสุขภาพของพนักงานย้อนหลัง โดยเฉพาะที่ เกี่ยวข้องกับโรคหู
- ผลตรวจวัดเสียง ในบริเวณที่ทำงาน ย้อนหลังตั้งแต่ปีที่พนักงานเข้าทำงานวันแรก
- ผลตรวจวัดการได้ยิน ของพนักงาน ย้อนหลังตั้งแต่ปีที่พนักงานเข้าทำงานวันแรก
- รายละเอียดลักษณะการทำงานระยะเวลาการทำงาน ในแต่ละแผนกอดีตจนถึงปัจจุบัน รวมทั้ง อาชีพเสริม และ งานอดิเรก ที่อาจสัมผัสเสียงดังหรือเป็นอันตรายต่อการได้ยิน
และควรมีข้อมูลอื่นๆที่สถานประกอบการเห็นว่าอาจมีความสำคัญจากทางสถานประกอบการแนบมาด้วยเนื่องจากบ่อยครั้งที่ข้อมูลจากตัวพนักงานไม่ตรงกับข้อมูลจากสถานประกอบการ
เป็นอย่างไรบ้างครับ หมอบีคิดว่าการทำโครงการอนุรักษ์การได้ยินอาจเริ่มต้นไม่ง่ายนัก แต่เชื่อว่าไม่ยากเกินไปที่จะทำให้ได้ตามกฎหมายหรือแม้แต่ทำให้ดียิ่งกว่าที่เขียนไว้ในกฎหมาย ถ้าสถานประกอบการมีความตั้งใจจริงเพื่อประโยชน์ของพนักงานทุกคนที่สัมผัสเสียงดังครับ