STEL Ceiling and Peak ขีดจำกัดความเข้มข้นสารเคมีอันตรายในกฎหมายใหม่
วันนี้หมอบีจะมาแนะนำเกี่ยวกับค่ามาตรฐานการสัมผัสสารเคมีที่ประกาศมาเป็นกฎหมายฉบับใหม่ ที่ผู้เชี่ยวชาญหลายท่านวิพากย์วิจารณ์กันอย่างเข้มข้น บ้างก็ว่า ลอกตารางจากต่างประเทศมาไม่ครบ บ้างก็ว่าลอกมาผิดเนื้อหาสลับคอลัมน์ บ้างก็ว่า ค่า STEL ต้องไม่สูงกว่าค่า Ceiling นะ ใครผิดหรือถูกอย่างไร เราก็มาลองช่วยกันพิจารณาดูกันครับ
ก่อนจะไปในรายละเอียด อยากให้เข้าใจก่อนว่าแพทย์อาชีวเวชศาสตร์เกี่ยวข้องอย่างไรกับการใช้ค่ามาตรฐานนี้ แน่นอนครับว่าการกำหนดให้การสัมผัสสารเคมีในระหว่างการทำงานไม่เกินเท่านั้นเท่านี้เนื่องจากต้องการให้พนักงานเกิดความปลอดภัย ถ้าค่าการสัมผัสไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานและพนักงานสุขภาพแข็งแรงนั่นคือดีที่สุดแล้ว
แต่เมื่อพนักงานเกิดอาการผิดปกติขึ้นในระหว่างการทำงานกับสารเคมีแล้ว อาจไม่ถึงกับต้องเป็นโรคแต่หากเพียง ค่าการทำงานของตับหรือไตขึ้นสูงกว่าปกติ ผลการตรวจสมรรถภาพปอดลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า หรือมีภาวะสุขภาพที่เปลี่ยนแปลงไปอื่น ย่อมต้องพิจารณาว่าเกิดขึ้นเนื่องจากการทำงานหรือไม่ หากระบุได้ว่าเกิดเนื่องจากการสัมผัสสารเคมีในระหว่างการทำงานก็จะนำไปสู่กระบวนการทบทวนและควบคุมความเสี่ยงต่อไป
ทั้งนี้ผลการตรวจสมรรถภาพปอดที่จะนำมาเทียบกันได้นั้นต้องตรวจอย่างมีมาตรฐานนะครับ แนะนำให้อ่านจาก การเป่าปอดสามครั้งอย่างมีคุณภาพ นะครับ
การดำเนินการในลักษณะนี้จึงจะเรียกว่าการเฝ้าระวังโรคจากการทำงานครับ ซึ่งจะต้องมีการวิเคราะห์ผลการตรวจสุขภาพเพื่อนำข้อมูลที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์ อ่านรายละเอียดได้ใน วิเคราะห์และแปลผลตรวจสุขภาพ และ เลือกโครงการสุขภาพให้พนักงาน ครับ
ทั้งนี้การจะระบุว่าอาการผิดปกติครั้งนี้เกิดขึ้นเนื่องจากการสัมผัสสารเคมีในระหว่างการทำงาน จะต้องพิจารณาผลการตรวจวัดสารเคมีในสภาพแวดล้อมการทำงาน เพื่อประเมินระดับการสัมผัสสารเคมีที่สงสัยว่าทำให้เกิดโรค ดังนั้นแพทย์อาชีวเวชศาสตร์จึงควรมีความรู้เกี่ยวกับค่ามาตรฐานและการแปลผลการตรวจวัดสารเคมีในสภาพแวดล้อมการทำงานพอสมควรแต่คงไม่ถึงขนาดลงมือตรวจวัดเองได้อย่างเชี่ยวชาญเหมือนนักสุขศาสตร์อุตสาหกรรมนะครับ เราทำงานร่วมกันแบบสหสาขาวิชาชีพ
เริ่มจากการประกาศค่ามาตรฐานของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานที่เป็นจำเลยสังคมในปัจจุบันกันก่อนละกันครับ
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง ขีดจำกัดความเข้มข้นของสารเคมีอันตราย ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ ๓ สิงหาคม ๒๕๖๐
Ceiling limit. The employer shall assure that no employee is exposed to an airborne concentration of acrylonitrile in excess of ten (10) ppm as averaged over any fifteen (15)-minute period during the work day.
ก่อนจะไปในรายละเอียด อยากให้เข้าใจก่อนว่าแพทย์อาชีวเวชศาสตร์เกี่ยวข้องอย่างไรกับการใช้ค่ามาตรฐานนี้ แน่นอนครับว่าการกำหนดให้การสัมผัสสารเคมีในระหว่างการทำงานไม่เกินเท่านั้นเท่านี้เนื่องจากต้องการให้พนักงานเกิดความปลอดภัย ถ้าค่าการสัมผัสไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานและพนักงานสุขภาพแข็งแรงนั่นคือดีที่สุดแล้ว
แต่เมื่อพนักงานเกิดอาการผิดปกติขึ้นในระหว่างการทำงานกับสารเคมีแล้ว อาจไม่ถึงกับต้องเป็นโรคแต่หากเพียง ค่าการทำงานของตับหรือไตขึ้นสูงกว่าปกติ ผลการตรวจสมรรถภาพปอดลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า หรือมีภาวะสุขภาพที่เปลี่ยนแปลงไปอื่น ย่อมต้องพิจารณาว่าเกิดขึ้นเนื่องจากการทำงานหรือไม่ หากระบุได้ว่าเกิดเนื่องจากการสัมผัสสารเคมีในระหว่างการทำงานก็จะนำไปสู่กระบวนการทบทวนและควบคุมความเสี่ยงต่อไป
ทั้งนี้ผลการตรวจสมรรถภาพปอดที่จะนำมาเทียบกันได้นั้นต้องตรวจอย่างมีมาตรฐานนะครับ แนะนำให้อ่านจาก การเป่าปอดสามครั้งอย่างมีคุณภาพ นะครับ
ทั้งหมดก็เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการผิดปกติที่รุนแรงขึ้นและไม่ให้เกิดเหตุซ้ำซากนั่นเองครับ
การดำเนินการในลักษณะนี้จึงจะเรียกว่าการเฝ้าระวังโรคจากการทำงานครับ ซึ่งจะต้องมีการวิเคราะห์ผลการตรวจสุขภาพเพื่อนำข้อมูลที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์ อ่านรายละเอียดได้ใน วิเคราะห์และแปลผลตรวจสุขภาพ และ เลือกโครงการสุขภาพให้พนักงาน ครับ
ทั้งนี้การจะระบุว่าอาการผิดปกติครั้งนี้เกิดขึ้นเนื่องจากการสัมผัสสารเคมีในระหว่างการทำงาน จะต้องพิจารณาผลการตรวจวัดสารเคมีในสภาพแวดล้อมการทำงาน เพื่อประเมินระดับการสัมผัสสารเคมีที่สงสัยว่าทำให้เกิดโรค ดังนั้นแพทย์อาชีวเวชศาสตร์จึงควรมีความรู้เกี่ยวกับค่ามาตรฐานและการแปลผลการตรวจวัดสารเคมีในสภาพแวดล้อมการทำงานพอสมควรแต่คงไม่ถึงขนาดลงมือตรวจวัดเองได้อย่างเชี่ยวชาญเหมือนนักสุขศาสตร์อุตสาหกรรมนะครับ เราทำงานร่วมกันแบบสหสาขาวิชาชีพ
เริ่มจากการประกาศค่ามาตรฐานของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานที่เป็นจำเลยสังคมในปัจจุบันกันก่อนละกันครับ
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง ขีดจำกัดความเข้มข้นของสารเคมีอันตราย ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ ๓ สิงหาคม ๒๕๖๐
ประเด็นที่น่าสนใจอย่างหนึ่งคือ ขีดจํากัดความเข้มข้นของสารเคมีอันตรายสําหรับการสัมผัสในระยะเวลาสั้นๆ คอลัมน์ที่สองจากทางขวามือนั่นละครับ เป็นคำถามจากหลายๆท่านว่า ทำไมจึงมีค่าอะไรบางอย่างกำหนดเพิ่มทั้งที่มี Ceiling (ค่าขีดจํากัดความเข้มข้นของสารเคมีอันตรายสูงสุดไม่ว่าเวลาใดๆในระหว่างทํางาน) อยู่ในคอลัมน์ขวาสุดแล้วแถมยังมีค่าสูงกว่าค่า Ceiling ด้วยนะเธอ แถมให้ทำงานได้ 15 นาทีบ้าง 30 นาทีบ้าง จน หลายคนอาจเข้าใจไปว่ามันคือค่า STEL ทำให้เกิดประเด็นร้อนว่า ค่าเฉลี่ย STEL ต้องไม่สูงกว่าค่า Ceiling นะคร้าบ
ว่าแต่เคยสงสัยมั้ยครับว่า ในอดีตจนถึงปัจจุบัน ACGIH เคยกำหนดให้
ว่าแต่เคยสงสัยมั้ยครับว่า ในอดีตจนถึงปัจจุบัน ACGIH เคยกำหนดให้
สารเคมีชนิดใดบ้างที่มีทั้งสองค่า คือค่า STEL และ Ceiling พร้อมๆกัน?
หลายท่านอาจมองว่า นี่ละคือค่า STEL (จริงหรือ) แต่ว่านะครับคำถามต่อมาคือ ACGIH กำหนดค่า STEL ของสารอะคริโลไนไตรล์ไว้เท่าไหร่? ลองไปค้นเอกสารอ่านดูนะครับ ซึ่งจะเห็นว่า หากสารเคมีชนิดใดไม่ได้กำหนดค่า STEL ไว้จะแนะนำให้ใช้ค่า Excursion limits แทน นอกจากนี้หากมองในอีกมุมหนึ่งย้อนกลับมาจะพบว่า
ทำไมสารเคมีหลายชนิดจึงไม่มีค่านี้กำหนดในคอลัมน์ทั้งที่มีค่า STEL จาก ACGIH ให้คัดลอกได้?
ต่อมาทางผู้ออกกฎหมายฉบับดังกล่าวได้ออกมาชี้แจงว่า
ถึงจุดนี้หลายท่านก็จะถึงบางอ้อ และกลับไปนั่งอ่าน OSHA 1910.1000 Table Z-2 แม้ว่าจะยังคงความสงสัยของค่ามาตรฐานที่แตกต่างของสารเคมีบางตัว แต่ก็เมื่ออ่านรายละเอียดในคำอธิบายของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานก็พอเข้าใจเจตนารมย์ของกฎหมายได้ดีขึ้น (เฉพาะสำหรับสารเคมีที่มีตัวเลขครบทั้งสามคอลัมน์ทางขวาและอยู่ในตาราง Z-2 นะครับ)
แถมอ่านให้ละเอียดจะพบว่าคำอธิบาย/ชี้แจงของกรมสวัสดิการคุ้มครองแรงงานจะคล้ายกับ OSHA 1910.1000(b)(3) อย่างมากกกก (เสียงสูง)
ภาพรวมคือเป็นค่าระดับการสัมผัสสูงสุด (Peak) ที่ผ่อนผันให้ ยอมรับให้สัมผัสได้ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ แม้จะเกินกว่าค่า Ceiling ในคอลัมน์ขวาสุดแล้วก็ตาม มิใช่ค่าเฉลี่ย STEL แต่ประการใด
แถมอ่านให้ละเอียดจะพบว่าคำอธิบาย/ชี้แจงของกรมสวัสดิการคุ้มครองแรงงานจะคล้ายกับ OSHA 1910.1000(b)(3) อย่างมากกกก (เสียงสูง)
ภาพรวมคือเป็นค่าระดับการสัมผัสสูงสุด (Peak) ที่ผ่อนผันให้ ยอมรับให้สัมผัสได้ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ แม้จะเกินกว่าค่า Ceiling ในคอลัมน์ขวาสุดแล้วก็ตาม มิใช่ค่าเฉลี่ย STEL แต่ประการใด
ทีนี้คำถามต่อมาก็คือ
ทำไมจึงรวมเอาค่ามาตรฐานสองอย่างมาอยู่ในตารางเดียวกัน (ค่ามาตรฐาน STEL ของ ACGIH และค่ามาตรฐานของ OSHA)?
แล้วค่าที่ไม่มีใน Z-2 อย่างสาร Acrylonitrile ล่ะ มันคือ STEL หรือเปล่า?
ทำไมจึงรวมเอาค่ามาตรฐานสองอย่างมาอยู่ในตารางเดียวกัน (ค่ามาตรฐาน STEL ของ ACGIH และค่ามาตรฐานของ OSHA)?
หากค้นข้อมูลเพิ่มเติมจาก OSHA 1910.1045(c)(1)(ii) จะอธิบายส่วนที่น่าจะเกี่ยวข้องกับตารางนี้ไว้ว่า
จากค่าเฉลี่ย STEL ขอย้ำว่า ค่าเฉลี่ย โดยนิยามนั้นคือ 15 minute TWA แสดงว่าความเข้มข้นสารเคมีในบางเวลาอาจมีพีคเกินค่า STEL ได้บ้างถ้าเฉลี่ยระหว่าง 15 นาทีแล้วมันไม่เกินก็ยังโอเค ในขณะที่ถ้าเป็นค่า Ceiling (คอลัมน์ขวาสุดในกฎหมาย) แล้ววัดระดับสารเคมีแล้วเกินมาพีคเดียว เสี้ยววินาทีเดียว ก็ถือว่าเกิน ส่วนค่า Ceiling limit ของ Acrylonitrile ดังที่เห็นในคำอธิบายของ OSHA ว่าแม้จะใช้คำว่า Ceiling แต่กลับมีระยะเวลาพ่วงเข้ามาด้วย แถมใช้คำว่า as averaged จนดูคล้ายๆกับ STEL มากกว่า (เฉพาะกรณีสารเคมีที่ไม่มีตัวเลขในคอลัมน์ขวาสุดในกฎหมาย และไม่อยู่ในตาราง Z-2 นะครับ)
ข้อแตกต่างของ Ceiling limit (OSHA) กับ STEL (ACGIH) คือ
ถ้าเป็นค่าเฉลี่ย STEL ยอมให้ทำงานที่ ค่าเฉลี่ยการสัมผัสสารเคมีไม่เกินเกณฑ์ ได้ครั้งละไม่เกิน 15 นาที วันละตั้งสี่ครั้ง แต่ละครั้งต้องห่างกันอย่างน้อยหนึ่งชั่วโมง นับรวมแล้วก็วันละ 60 นาที แต่ค่า Ceiling limit ของ OSHA นี้จะแตกต่างออกไป
ทั้งนี้ถ้าเป็นสารที่ไม่มี STEL ใน ACGIH จะใช้ค่า Excursion limits แทนนะครับ
เมื่อเข้าใจที่มาที่ไปแล้ว ไปต่ออีกนิดที่วิธีการเก็บตัวอย่าง เมื่อมีผู้ประสบเหตุจากสารเคมีมีอาการผิดปกติ และมีผลตรวจวัดระดับสารเคมีที่สัมผัสมาด้วย อย่างหนึ่งที่น่าพิจารณาคือเก็บตัวอย่างมาแบบไหน
ถ้าเป็น 8 hour TWA คงแล้วแต่นักสุขศาสตร์อุตสาหกรรมจะพิจารณาเก็บแบบใดแบบหนึ่งข้างล่างนี้
1.เก็บตัวอย่างเดียวตลอดระยะเวลาการทำงาน (Simple Sample for Full Period)
2.เก็บหลายตัวอย่างตลอดระยะเวลาทำงาน (Consecutive Sample for Full Period) หรือเว้นเวลาพักนั่นเอง
3.เก็บหลายตัวอย่างโดยแบ่งเวลาเก็บออกเป็นช่วง (Consecutive Sample for Partial Period) ซึ่งเป็นที่นิยมใช้ แต่ถ้าไม่สามารถแสดงได้ว่าเก็บถึง 70% ของระยะเวลาการทำงานความน่าเชื่อถือของผลการตรวจจะลดลง
ถ้าเก็บตัวอย่างแบบบูรณาการ (Integrated Sample) ก็เหมาะสำหรับแปลผลด้วยค่า 15 minute TWA อย่าง STEL ซึ่งต้องเก็บอย่างน้อย 15 นาทีในช่วงเวลาที่ที่น่าจะมีการสัมผัสสารเคมีมากที่สุด
แต่หากจะแปลผลด้วยค่าสูงสุด อย่าง Ceiling Max หรือ Peak ควรจะใช้การเก็บแบบทันที (Instantaneous Sample) หรือแบบใช้เวลาเก็บสั้นๆ (Grab Sample) โดยอาจใช้ เครื่องตรวจวัดสารเคมีแบบ Direct Reading
อ่านรายละเอียดเกี่ยวกับเทคนิคการตรวจวัดสภาพแวดล้อมการทำงานเพิ่มเติมได้ที่
1.หน่วยที่ 8 การเก็บและวิเคราะห์ตัวอย่างสารเคมี
2.การตรวจวัดทางสุขศาสตร์อุตสาหกรรม
จะเห็นว่าที่มาของ ค่าขีดจํากัดความเข้มข้นของสารเคมีอันตรายสําหรับการสัมผัสในระยะเวลาสั้นๆ ของกรมสวัสดิการคุ้มครองแรงงาน นอกจากจะมีที่มาจาก Acceptable maximum peak above the acceptable ceiling concentration for an 8-hr shift (ค่าสูงสุด) ในตาราง Z-2 ของ OSHA ซึ่งเป็นค่าสูงสุดแล้ว บางส่วนยังมีน่าจะมีที่มาจากค่า Ceiling limit เฉพาะสารเคมีของ OSHA ซึ่งเป็นค่า as averaged อีกด้วย ในช่องนี้กฎหมายก็ไม่เขียนให้ชัดเจนว่าเป็นค่าสูงสุด (Peak) หรือค่าเฉลี่ย (as averaged) เลยทำให้ยิ่งงงไปกันใหญ่ว่าจะเก็บตัวอย่างแบบไหน แปลผลแบบไหนดี
หรือจะเป็น?
ล้อเล่นนะครับเห็นอ่านมากันจนสุดทาง หรือกรมสวัสดิการคุ้มครองแรงงานจะต้องออกโรงชี้แจงอีกครั้งหนึ่ง?
ถ้าเป็น 8 hour TWA คงแล้วแต่นักสุขศาสตร์อุตสาหกรรมจะพิจารณาเก็บแบบใดแบบหนึ่งข้างล่างนี้
1.เก็บตัวอย่างเดียวตลอดระยะเวลาการทำงาน (Simple Sample for Full Period)
2.เก็บหลายตัวอย่างตลอดระยะเวลาทำงาน (Consecutive Sample for Full Period) หรือเว้นเวลาพักนั่นเอง
3.เก็บหลายตัวอย่างโดยแบ่งเวลาเก็บออกเป็นช่วง (Consecutive Sample for Partial Period) ซึ่งเป็นที่นิยมใช้ แต่ถ้าไม่สามารถแสดงได้ว่าเก็บถึง 70% ของระยะเวลาการทำงานความน่าเชื่อถือของผลการตรวจจะลดลง
ถ้าเก็บตัวอย่างแบบบูรณาการ (Integrated Sample) ก็เหมาะสำหรับแปลผลด้วยค่า 15 minute TWA อย่าง STEL ซึ่งต้องเก็บอย่างน้อย 15 นาทีในช่วงเวลาที่ที่น่าจะมีการสัมผัสสารเคมีมากที่สุด
แต่หากจะแปลผลด้วยค่าสูงสุด อย่าง Ceiling Max หรือ Peak ควรจะใช้การเก็บแบบทันที (Instantaneous Sample) หรือแบบใช้เวลาเก็บสั้นๆ (Grab Sample) โดยอาจใช้ เครื่องตรวจวัดสารเคมีแบบ Direct Reading
อ่านรายละเอียดเกี่ยวกับเทคนิคการตรวจวัดสภาพแวดล้อมการทำงานเพิ่มเติมได้ที่
1.หน่วยที่ 8 การเก็บและวิเคราะห์ตัวอย่างสารเคมี
2.การตรวจวัดทางสุขศาสตร์อุตสาหกรรม
จะเห็นว่าที่มาของ ค่าขีดจํากัดความเข้มข้นของสารเคมีอันตรายสําหรับการสัมผัสในระยะเวลาสั้นๆ ของกรมสวัสดิการคุ้มครองแรงงาน นอกจากจะมีที่มาจาก Acceptable maximum peak above the acceptable ceiling concentration for an 8-hr shift (ค่าสูงสุด) ในตาราง Z-2 ของ OSHA ซึ่งเป็นค่าสูงสุดแล้ว บางส่วนยังมีน่าจะมีที่มาจากค่า Ceiling limit เฉพาะสารเคมีของ OSHA ซึ่งเป็นค่า as averaged อีกด้วย ในช่องนี้กฎหมายก็ไม่เขียนให้ชัดเจนว่าเป็นค่าสูงสุด (Peak) หรือค่าเฉลี่ย (as averaged) เลยทำให้ยิ่งงงไปกันใหญ่ว่าจะเก็บตัวอย่างแบบไหน แปลผลแบบไหนดี
หรือจะเป็น?
ภาพจาก https://quotefancy.com
สำหรับหมอบี เมื่อมีค่าผลตรวจวัดสิ่งแวดล้อมมาค่าหนึ่งคงต้องพิจารณากันให้ดีว่าเก็บตัวอย่างมาแบบไหน ผลกระทบทางสุขภาพเป็นแบบเฉียบพลันหรือแบบเรื้อรัง ก่อนที่จะตัดสินใจใช้ค่าอะไรแปลผล ทั้งนี้ต้องเข้าใจว่าความไวของแต่ละคนไม่เท่ากันครับ คนเป็นโรคหอบหืด คนที่มีค่าการทำงานของตับหรือไตผิดปกติ ก็ยังมีโอกาสเกิดความผิดปกติจากสารเคมีได้ง่ายกว่าปกติแม้ว่าจะสัมผัสในระดับที่ไม่เกินค่ามาตรฐานก็ตาม หรือพนักงานหญิงที่กำลังตั้งครรภ์ก็เป็นอันตรายได้มากกว่าคนทั่วไปครับ
เกี่ยวกับความไวต่อการสัมผัสสารเคมีของแต่ละคนไม่เท่ากันแนะนำให้อ่านเรื่อง VULNERABLE เพราะสุขภาพแต่ละคนไม่เท่ากัน และ การดูแลพนักงานหญิงที่ตั้งครรภ์ เพิ่มเติมครับ
สุดท้ายนี้อยากฝากถึงกองทุนเงินทดแทนสักคำว่า "กฎหมายก็ปรับแล้ว จะได้เวลาปรับค่ามาตรฐานสารเคมีในเกณฑ์ในการวินิจฉัยโรคจากการทำงาน และรายละเอียดการวินิจฉัยโรคจากการทำงานของประเทศไทยให้เกิดความชัดเจนและ UP TO DATE แล้วหรือยัง?"
สำหรับวันนี้สวัสดีครับ
เกี่ยวกับความไวต่อการสัมผัสสารเคมีของแต่ละคนไม่เท่ากันแนะนำให้อ่านเรื่อง VULNERABLE เพราะสุขภาพแต่ละคนไม่เท่ากัน และ การดูแลพนักงานหญิงที่ตั้งครรภ์ เพิ่มเติมครับ
สุดท้ายนี้อยากฝากถึงกองทุนเงินทดแทนสักคำว่า "กฎหมายก็ปรับแล้ว จะได้เวลาปรับค่ามาตรฐานสารเคมีในเกณฑ์ในการวินิจฉัยโรคจากการทำงาน และรายละเอียดการวินิจฉัยโรคจากการทำงานของประเทศไทยให้เกิดความชัดเจนและ UP TO DATE แล้วหรือยัง?"
สำหรับวันนี้สวัสดีครับ