MERS-CoV ป้องกันตัวเองจากโรคเมอร์ส-คอฟ

สวัสดีครับวันนี้หมอบีจะมาชวนคุยเรื่องการดูแลสุขภาพของคนที่ต้องเข้าไปในพื้นที่ หรือมีโอกาส เสี่ยงที่จะสัมผัสเชื้อ MERS-CoV โรคเมอร์ส-คอฟ เนื่องด้วยทางโรงพยาบาลระยองยืนยันข่าวที่ได้มีผู้อยู่ในข่ายต้องสงสัยติดเชื้อเมอร์ส อยู่ใน รพ.ระยองจริง ยังไม่ยืนยันว่าเป็นโรคนะครับแค่ต้องสงสัยต้องรอผลแลปยืนยันอีกที ซึ่งเป็นผู้ป่วยที่มารับบริการด้วยตนเอง ด้วยอาการเหนื่อย อ่อนเพลีย

ภาพ MERS จาก www.therakyatpost.com

แม้ว่าทางโรงพยาบาลระยองจะได้มีการแยกผู้ป่วยรายดังกล่าวไปที่ห้องแยกโรคเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ ซึ่งได้มีการประสานงานกับเจ้าหน้าที่ทุกส่วนที่เกี่ยวข้องให้เข้ามาร่วมตรวจสอบด้วยตั้งแต่ต้น และได้มีการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ โดยการเก็บตัวอย่างส่งตรวจได้ปฏิบัติตามมาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุขและ ทางโรงพยาบาลฯ มีระบบติดตามเฝ้าระวังและมีมาตรการรองรับสถานการณ์โรคเมอร์ส ซึ่ง ต้องรอผลการตรวจยืนยันอีกครั้งว่าเป็นโรคเมอร์สจริงหรือไม่ (นางมยุรี วงศ์วิริยะพันธ์ หัวหน้างานประชาสัมพันธ์ รพ.ระยอง ผู้ให้ข้อมูล วันที่ 21 กรกฎาคม 2558)

ก่อนอื่นต้องขอออกตัวก่อนว่าหมอบีเป็นแพทย์อาชีวเวชศาสตร์ จึงไม่เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อนะครับ 

แนะนำให้อ่านบทความ เกี่ยวกับหมอบี และบทความ แพทย์อาชีวเวชศาสตร์ ก่อนนะครับจะได้รู้จักกัน ^^

ทั้งนี้อยากแนะนำ ประเด็นที่ทุกคนควรรู้จักให้เท่าทันโรคเมอร์ส-คอฟ ดังนี้ครับ (อ้างอิงจาก MERS-CoV โดยWorld Health Organization http://www.who.int/emergencies/mers-cov/en/ และจากหน่วยคลังข้อมูลยา เภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/dic/knowledge_full.php?id=10)

MERS-CoV ย่อมาจาก Middle East Respiratory Syndrome Coronavirus เป็นโรคติดเชื้อชนิดรุนแรงที่เกิดจากเชื้อไวรัสโคโรน่าซึ่งเป็นไวรัสกลุ่มเดียวกับที่ก่อโรคซาร์สแต่คนละสายพันธุ์ เป็นไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคทางระบบทางเดินหายใจอย่างรุนแรง

พบการติดเชื้อเมอร์สเป็นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 2012 ที่ประเทศซาอุดิอาระเบีย 

ภาพจาก www.cfr.org

อาการทางระบบทางเดินหายใจที่สำคัญ ได้แก่ ไข้ ไอ อาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ แต่ในรายที่รุนแรงอาจมีอาการหอบ หายใจลำบาก ระบบทางเดินหายใจล้มเหลวเฉียบพลันได้

ป่วยสามคนตายหนึ่งคน หรือมากกว่าร้อยละ 30 ของผู้ที่มีการติดเชื้อไวรัสชนิดนี้จะมีอาการรุนแรงจนกระทั่งเสียชีวิต

แนะนำให้อ่านการดำเนินของโรคเมอร์ส โดยเภสัชกรอุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล ตามลิงค์นะครับ
http://www.oknation.net/blog/DIVING/2015/06/05/entry-2

สำหรับคนที่สัมผัสและเริ่มมีอาการแล้วควรแยกตัวออกมาเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ และติดต่อโรงพยาบาลในพื้นที่เพื่อเข้ารับการรักษาโดยด่วน

การรักษา ปัจจุบันยังไม่มียาที่ใช้ในการรักษาการติดเชื้อไวรัสชนิดนี้โดยเฉพาะ โดยทั่วไปจะแนะนำให้ใช้ยาที่ช่วยบรรเทาอาการเท่านั้น

แต่ในกรณีที่ผู้ป่วยมีไข้สูง ร่วมกับ ปอดบวมรุนแรง และไม่ทราบว่าเกิดจากการติดเชื้อไวรัสชนิดใด อาจจะแนะนำให้ใช้ยาต้านไวรัส

การป้องกันเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด สำหรับคนที่ยังไม่เคยสัมผัสหรือยังไม่มีอาการ

ดีที่สุดคือ ให้หลีกเลี่ยงการสัมผัสทุกทางเลยครับ ทั้งการคลุกคลีกับผู้ที่มีอาการไอ จาม และการเข้าไปในที่แออัด จะเดินทางไปประเทศไหนก็ควรต้องเตรียมตัว เตรียมสุขภาพให้ดี กลับมาจากต่างประเทศยังต้องระวังสุขภาพต่ออีกระยะแล้วแต่โรคด้วยนะครับ แนะนำให้ อ่านรายละเอียด การเตรียมสุขภาพก่อนการเดินทางไปต่างประเทศ



กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ โดยควรล้างมือบ่อยๆด้วยสบู่และน้ำอย่างน้อย 20 วินาที หรืออาจใช้แอลกอฮอล์เจลแทนได้ โดยเฉพาะก่อนรับประทานอาหารและหลังเข้าห้องน้ำ

สวมหน้ากากอนามัย ถ้าจำเป็นต้องเข้าไปในพื้นที่เสี่ยง หรือในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการไอ จาม เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค

หมอบีแนะนำให้อ่านบทความอื่นๆที่น่าสนใจเกี่ยวกับโรคเมอร์สคอฟได้ตามลิงค์ด้านล่างกันเลยนะครับ ^^
การเฝ้าระวังโรคเมอร์ส โดยโรงพยาบาลกรุงเทพ
https://www.bangkokhospital.com/th/news/2015/june/aware-mers-cov-2015/
Share This Post :
Tags :

ติดตาม "หมอบี" ทาง Facebook

บทความใหม่ล่าสุด

[2][recent][recent][บทความใหม่ล่าสุด]

Social Media

Get update news from our social media.