TOP TEN ประเด็นสุขภาพพนักงานที่มักถูกละเลย ตอนจบ

สวัสดีครับ วันนี้หมอบีขอนำเสนอกันต่อจากครั้งที่แล้วเลยนะครับ เกี่ยวกับประเด็นทางสุขภาพที่สถานประกอบการหลายแห่งอาจจะยังทำไม่ถูกต้องทำให้พนักงานเสียผลประโยชน์ในการดูแลสุขภาพของตัวเองไปครับ หลายๆอย่างเป็นประเด็นที่ผิดกฎหมายโดยที่สถานประกอบการไม่รู้ตัวหรืออ้างว่าไม่รู้ และบางอย่างแม้จะไม่ผิดกฎหมายแต่ก็ทำให้พนักงานเจ็บป่วยจากการทำงานได้ครับ เรามาดูกันเลยว่าประเด็นไหนที่ตรงกับสถานประกอบการของจะได้ปรับแก้กันได้ทันครับ

ถ้าใครยังไม่ได้อ่าน TOP TEN ประเด็นสุขภาพพนักงานที่มักถูกละเลย ตอนแรก แนะนำให้ไปอ่านกันก่อนนะครับ



ผลตรวจสุขภาพพนักงานในแต่ละปีไม่ได้ถูกนำมาวิเคราะห์ให้เกิดประโยชน์ จะตรวจสุขภาพกันทุกปีแต่สิ่งที่ได้กลับมาคุ้มค่าหรือไม่เป็นคำถามของผู้บริหารแต่น้อยคนนักที่จะคิดว่าทำอย่างไรให้ได้ประโยชน์ตกถึงพนักงานและสถานประกอบการที่เป็นคนจ่ายเงินอย่างคุ้มค่า

แนะนำให้อ่านบทความเกี่ยวกับการวิเคราะห์ผลตรวจสุขภาพให้พนักงานกันครับที่ วิเคราะห์และแปลผลตรวจสุขภาพ

แปลผลตรวจสุขภาพผิดวิธี เช่น ผลตรวจการได้ยินสำหรับพนักงานที่ทำงานในที่เสียงดัง กฎหมายบอกให้แปลผลแบบเทียบกับข้อมูลพื้นฐาน แต่บริษัทรับตรวจสุขภาพมักแปลผลแบบครั้งเดียวมาให้ สถานประกอบการก็เออออห่อหมก เอาผลแบบครั้งเดียวมาวิเคราะห์ต่อมั่วกันไปหมด ใบ้ให้นิดนึงว่าโรคประสาทหูเสื่อมจากการทำงานกับเสียงดังจะเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป จึงต้องเอาผลแต่ละปีที่ผ่านมาแปลผลเทียบกันกับข้อมูลพื้นฐานให้รู้แจ้ง

แนะนำให้อ่านบทความเกี่ยวกับการแปลผลตรวจสมรรถภาพการได้ยินให้พนักงานกันครับที่ แปลผลตรวจการได้ยินในการเฝ้าระวังโรค

ทำโครงการสุขภาพไม่ตรงกับปัญหาของพนักงาน จะไปตรงได้อย่างไรวิเคราะห์ผลตรวจสุขภาพไม่เป็น หรือสถานประกอบการบางแห่งไม่คิดจะวิเคราะห์ด้วยซ้ำไม่รู้ว่าปัญหาสุขภาพของพนักงานคืออะไร พอต้องทำโครงการสุขภาพก็ไปถามสถานประกอบการอื่นว่าอันนั้นอันนี้ดีมั้ย คิดว่าสถานประกอบการคนละแห่งจะมีปัญหาสุขภาพเหมือนกันมั้ย ทำโครงการสุขภาพแล้วพนักงานจะได้ประโยชน์เหมือนกันมั้ย

แนะนำให้อ่านบทความเกี่ยวกับการเลือกทำโครงการสุขภาพให้พนักงานกันครับที่ เลือกโครงการสุขภาพให้พนักงาน

ไม่มีเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจในสถานประกอบการ โอกาสที่พนักงานหัวใจหยุดเต้นในที่ทำงานก็มี ยิ่งคนงานหลายคนแต่ละคนอายุเยอะๆแถมมีโรคประจำตัวอีกหลายอย่างยิ่งเสี่ยง สมมติเกิดเหตุการณ์ทีนึงถ้ามีเครื่องนี้โอกาสรอดของพนักงานเพิ่มขึ้นเกือบสิบเท่า แต่มีแล้วต้องฝึกต้องสอนคนที่อยู่ในเหตุการณ์ให้มั่นใจทำได้นะ คนสอนใช้เครื่องต้องสอนเก่ง สอนเน้นเรื่องการใช้เครื่องการกู้ชีพ ไม่ใช่เอาแต่สอนปฐมพยาบาลยืดยาว สอนใช้เครื่องนิดเดียว ไม่มีการฝึกซ้อม ถึงเวลาต้องทำจริงก็ไม่มั่นใจ คนเจ็บไม่รอด

แนะนำให้อ่านบทความเกี่ยวกับเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจกันครับที่ กระตุ้นหัวใจพนักงานด้วย AED

ไม่เตรียมตัวพนักงานก่อนส่งไปทำงานต่างประเทศ บางประเทศมีโรคระบาดในพื้นที่ เป็นพื้นที่เสี่ยงอาจติดโรคกลับมาถึงคนที่บ้าน ถึงเพื่อนที่ทำงานได้ บางโรคเป็นแล้วรุนแรงมากจนเสียชีวิตได้ ควรเตรียมตัวพนักงานให้ดีก่อนส่งไปต่างประเทศสัก 1-2 เดือนฉีดวัคซีนจำเป็นให้ครบ ถ้ามีวัคซีนหลายตัวควรทยอยฉีดจนครบก่อนเดินทาง บางประเทศอาจต้องกินยาต้านมาลาเรีย ให้รายละเอียดข้อมูลเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพในระหว่างเดินทาง และระหว่างที่ทำงานอยู่ในต่างประเทศต้องให้ข้อมูลพนักงานให้ครบถ้วน กลับมายังต้องคอยสังเกตุอาการต่ออีกระยะ บางโรคกว่าจะมีอาการต้องตามดูนานเป็นปี

แนะนำให้อ่านบทความเกี่ยวกับการเตรียมตัวพนักงานก่อนเดินทางไปต่างประเทศกันครับที่ ฉีดวัคซีนก่อนเดินทาง

จะเห็นว่าแต่ละประเด็นนั้นเป็นประเด็นที่สถานประกอบการแทบทุกแห่งสามารถดำเนินการได้ทันทีถ้ามีความตั้งใจจริง และสถานประกอบการสัญชาติต่างประเทศหลายแห่งจะมีการดำเนินการไปแล้วบ้างบางส่วนนะครับ ส่วนจะถูกต้องทั้งหมดหรือไม่ถ้าไม่ได้ตรวจสอบอย่างละเอียดหมอบีก็คงบอกได้ยากครับ ต้องยอมรับอย่างหนึ่งว่าหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ควบคุมตรวจสอบเรื่องพวกนี้ยังไม่สามารถดำเนินการตรวจสอบได้อย่างจริงจังและครอบคลุมทั้งประเทศครับ
Share This Post :
Tags : , ,

ติดตาม "หมอบี" ทาง Facebook

บทความใหม่ล่าสุด

[2][recent][recent][บทความใหม่ล่าสุด]

Social Media

Get update news from our social media.